ไม่ได้อัพบทความไปประมาณ 1 สัปดาห์ได้ เนื่องจากช่วงนี้มีอะไรต้องทำเยอะ แต่วันนี้ก็พยายามเร่งอัพให้ได้บทความนี้ ที่เป็นทั้งพื้นและเป็นมุมมองที่น่าสนใจอีกเรื่องนึง ซึ่งก็คือ Flat site Architecture หรือ โครงสรา้ง(หรือสถาปัตยกรรม)เว็บแนวราบ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในการออกแบบโครงสร้างภายในเว็บไซต์ และดูเหมือนว่าหลาย ๆ คนกำลังมองข้ามมันอยู่ด้วย
หลักการของ Flat site Architecture นี้ก็เป็นเรื่องง่าย ๆ นั่นก็คือการออกแบบโครงสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ user นั้น click น้อยครั้งที่สุด ไม่ว่าจะไปเพจใดใดก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ลองคิดดูว่าถ้าเราเข้าไปที่หน้าแรกของเว็บ แล้วต้องคลิ้กเลือกนู่นเลือกนี่ตั้งหลายครั้ง กว่าจะถึงรายละเอียดของสินค้าที่เราจะดูจริง ๆ ..แบบนี้ไม่ใช่ โครงสร้างแนวราบแต่เป็นโครงสร้างแนวลึก ซึ่งตรงนี้ต้องเข้าใจด้วยว่า ปกติแล้วเราจะเสีย % บางส่วนของ PR juice ไปฟรี ๆ ทุกครั้งที่มีการส่ง PR juice ผ่านลิ้งค์มา (เดี๋ยวเรื่องนี้ผมจะอัพเดทข้อมูลในส่วนเนื้อหาของ PR ให้อีกที) นั่นหมายความว่ายิ่งสร้างเป็นแนวลึกมากเท่าไร เรายิ่งเสีย PR juice ไปฟรี ๆ มากเท่านั้น
บางทีผู้อ่านอาจจะมีคำถามตามมาทันทีว่า “งั้นถ้าเรายัดลิ้งค์เข้ามาหมดเลยหน้าเดียวเราก็ไม่ต้องเสีย PR Juice ไปฟรี ๆ แล้วสิ?” … ผมก็คงบอกได้ว่า ถูกต้องเลยครับ เพียงแต่มันมีข้อจำกัดอยู่อย่างนึง ผมเคยบอกไปแล้วในบทความทำ SEO ควร มี link กี่อันต่อเพจว่า Google หรือ Search Engine อื่น ๆ อาจจะไม่สนใจเพจที่มีจำนวนลิ้งค์เยอะมาก ๆ … เพราะฉะนั้นแล้ว เราก็ไม่ควรยัดทุกอย่าง ทุกลิ้งค์ไว้ในเพจเดียวกันเช่นกัน อย่าลืมว่าคำแนะนำของ Google นั้นอยู่ที่ 100 links / เพจ (อาจจะมากกว่านั้นหน่อยก็ได้แต่อย่าเยอะมาก)ขนาด sitemap ของเว็บไซต์ใหญ่ ๆ ยังต้องทำการแตกออกมาเป็นหลาย ๆ อันก็เพราะเหตุผลอันนี้นี่เอง
ซึ่งหากเราทำการแบ่งหมวดหมู่ดี ๆ และตัด link ที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง เราก็จะแก้ปัญหาตรงนี้ได้ … และหากเราทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ดี ๆ มันจะเป็นปราการหลักขั้นพื้นฐาน ในการจัดการโครงสร้างภายในเว็บของเราเลยทีเดียว … PR ที่เราอุตส่าห์สะสมมา คงจะดีกว่า ถ้าเราไม่มันไหลทิ้งไปมาก ๆ จากการที่เราวางโครงสร้าง
Reference ก็มาจาก seomoz แหละ และถึงแม้ว่าบทความจะสองปีแล้ว มันก็ยังเป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบัน
[1] Flat site architecture (ภาษาอังกฤษนะครับ)