ถึงแม้ว่าบทความจะถูกปล่อยออกมาในวันที่ 14 พศจิการยน 2011 ที่ 10 Recent Algorithm Changes โดย Matt Cutts แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Algorithm เพิ่งถูกเปลี่ยน ณ วันนั้น เพราะ Cutts บอกว่ามันเป็น 10 อย่างหลักที่ถูกปรับในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นเอง ในส่วนของเนื้อหานั้นผู้เขียนก็จะแปลแบบคร่าว ๆ ให้ได้ใจความสำคัญ และอาจจะเติมความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวลงไปด้วย เพื่อเป็นการแชร์มุมมองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งถูกและผิดนะคร้าบบบบบ

มาเริ่มดูสิ่งที่ถูกเปลี่ยนทั้ง 10 อย่างกันเลยดีกว่า

Cross-language information retrieval updates: For queries in languages where limited web content is available (Afrikaans, Malay, Slovak, Swahili, Hindi, Norwegian, Serbian, Catalan, Maltese, Macedonian, Albanian, Slovenian, Welsh, Icelandic), we will now translate relevant English web pages and display the translated titles directly below the English titles in the search results. This feature was available previously in Korean, but only at the bottom of the page. Clicking on the translated titles will take you to pages translated from English into the query language.

การแสดงผลการค้นหาแบบรองรับหลายภาษา – สำหรับ ๆ คำที่ใช้ค้นหาในภาษาต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาค่อนข้างจำกัด (Afrikaans, Malay, Slovak, Swahili, Hindi, Norwegian, Serbian, Catalan, Maltese, Macedonian, Albanian, Slovenian, Welsh, Icelandic) จะถูกแปล และแสดง Title ที่แปลแล้วในผลการ search ด้วย (ไว้ใต้ Title ภาษาอังกฤษ) หาก users คลิ๊กที่ Title ที่ถูกแปล Google จะส่งผลลัพธ์ที่ถูกแปลจากภาษาอังกฤษมาให้ (ขึ้นอยู่กับภาษาของ keyword ที่ใช้ค้นหา)

อย่างที่เห็นว่าไม่มีภาษาไทยอยู่ใน list ด้วย ส่วนตัวแล้วผมว่าเรื่องนี้ยังไม่น่าจะนำมาใช้กับภาษาไทยในเร็ววันนี้ เพราะว่า Google Translator ยังจัดการกับการแปลภาษาไทยได้ไม่ดีพอ อาจจะเพราะ structure ของภาษาไทยเองค่อนข้างแปลกด้วยจึงน่าจะยังไม่ได้ช่วยอะไรเรามากนัก ส่วนใครก็ตามที่เขียนบทความภาษาอังกฤษอยู่ ก็ได้ผลประโยชน์ไปเต็ม ๆ เพราะไม่ต้องแปลเลยก็ได้ Traffic อยู่ดี (คิดว่าใครที่ลง Adsense ไว้ด้วยก็น่าจะได้ผลประโยชน์ตรงนี้ด้วยเหมือนกัน )

 

Snippets with more page content and less header/menu content: This change helps us choose more relevant text to use in snippets. As we improve our understanding of web page structure, we are now more likely to pick text from the actual page content, and less likely to use text that is part of a header or menu.

คำอธิบายเว็บด้วยข้อความในเนื้อหามากขึ้น แต่ด้วยข้อความจาก Header หรือ Menu ลดลง – การเปลี่ยนนี้จะทำให้ Google ใช้ข้อความค้นหาที่มีความเกี่ยวข้องมากขึ้น เพราะฉะนั้นปัจจุบันจึงเริ่มที่จะดึงข้อความจากเนื้อหามากกว่า

ที่จริงในส่วนนี้อาจจะเป็นสาเหตุที่มีคนถามในบอร์ดของ TSB ก็ได้ว่าทำไม Description ถึงแสดงไม่ตรงกับที่เขียน และอาจจะมีผลกระทบกับความต้องการของเจ้าของเว็บไม่น้อยเลย เมื่ออะไร ๆ ไม่เป็นไปตามที่ทเราคาด แต่ว่าผมเชื่อว่าถ้าเราเขียน Description ได้ค่อนข้างตรงกับคำ Search แล้วล่ะก็ มันก็ยังพอจะ control ในส่วนนี้ได้ เพราะผมว่า Description มันก็เป็นเนื้อหาส่วนนึงเหมือนกัน

 

Better page titles in search results by de-duplicating boilerplate anchors: We look at a number of signals when generating a page’s title. One signal is the anchor text in links pointing to the page. We found that boilerplate links with duplicated anchor text are not as relevant, so we are putting less emphasis on these. The result is more relevant titles that are specific to the page’s content.

*(เนื่องจากไม่แน่ใจคำว่า boilerplate จึงได้หาข้อมูลดู แล้วได้ข้อมูลจากฺ Boilerplate (SEO) ที่เว็บ Search Engine Journal ว่ามันเป็นการพิจารณาว่าเป็นส่วนไหนที่ถูกใช้ซ้ำ ๆ แต่ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับเนื้อหา)

จัดการ Page Title ในผลการค้นหาให้ดีขึ้น โดยการลดความเป็น Duplicate ของ boilerplate anchors – ปกติแล้ว Googleดูอะไรหลาย ๆ อย่างฝนการ Generate Title และหนึ่งในนั้นก็คือ anchor text ที่ยิงไปหาแต่ละเพจ แต่พบว่า boilerplate ลิ้งค์นั้นไม่ค่อยจะเกี่ยวข้อง จึงเน้นตรงนั้นให้น้อยลง และเน้นไปที่เนื้อหาให้มากขึ้น

สรุปก็คือเนื้อหาจะถูกมาใช้ในการ Gen Title มากขึ้น (ถ้าพูดถึงข้อที่แล้วด้วยก็จะรู้ว่าเนื้อหาเป็น key สำคัญเลยนะตอนนี้) แต่ก็อีกแหละ Title เป็นสิ่งที่เราเขียนเองอยู่แล้ว เราก็จัดการได้ในระดับนึง เพราะฉะนั้นถ้าเป็น keyword ที่ค่อนข้างตรงกับที่เราตั้งไว้ คงไม่มีอะไรกับทบหรอก

 

Length-based autocomplete predictions in Russian: This improvement reduces the number of long, sometimes arbitrary query predictions in Russian. We will not make predictions that are very long in comparison either to the partial query or to the other predictions for that partial query. This is already our practice in English.

ความยาวของ Autocomplete Prediction (Query Suggestion) ในรัฐเซีย – การปรับในส่วนนี้ลดความยาว (ซึ่งบางครั้งไม่ได้อยู่ในกฏเกณฑ์ใด ๆ) ของ query suggestion ในรัฐเซีย …Google จะไม่แนะนำใด ๆ หาก query นั้นค่อนข้างยาว ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มใช้กับภาษาอังกฤษแล้ว

ที่ Google ทำแบบนี้เพราะอาจจะวัดผลได้ว่า query ที่มีความยาวมาก ๆ นั้น มีการแสดงผลลัพธ์ไม่ค่อยตรงตามความต้องการของ user แต่เรื่องนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับเรามากเท่าไรมั้ง??

 

Extending application rich snippets: We recently announced rich snippets for applications. This enables people who are searching for software applications to see details, like cost and user reviews, within their search results. This change extends the coverage of application rich snippets, so they will be available more often.

เพิ่มส่วนของ Rich Snippets สำหรับ Application – Google ได้ประกาศ rich snippets for applications ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้ใครที่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ Software ได้ดู Detail เช่น ราคา และ review ในผลลัพธ์การค้นหาด้วย เพราะงั้นเราจะเห็นมันในผลการค้นหามากขึ้น

ในส่วนของ Rich Snippets นั้นเป็นเรื่องนึงที่น่าสนใจเช่นกัน เพราะจะทำให้เราได้แสดงข้อมูลเพิ่มเติมในผลการค้นหาของเราได้ด้วย ไม่ใช่แค่ Title กับ Description ซึ่งจริง ๆ แล้วบ้านเรายังไม่ค่อยมีคนพูดถึงเรื่องนี้เท่าไร (แต่ Google บอกว่า การใช้ Rich Snippets ไม่ได้ช่วยเรื่อง Ranking นะ)

 

Retiring a signal in Image search: As the web evolves, we often revisit signals that we launched in the past that no longer appear to have a significant impact. In this case, we decided to retire a signal in Image Search related to images that had references from multiple documents on the web.

ยกเลิก Signal สำหรับ image search – (อันนี้ไม่แน่ใจนะ เพราะไม่แน่ใจว่า signal หมายถึงอะไรกันแน่อ่ะ) เพราะว่าเว็บนั้นมีการพัฒนาอยู่ต่อลอดเวลา Google จึงทำการตรวจสอบรูปภาพที่ถูกไม่ค่อยมีผลลัพธ์ที่ดี จึงได้ตัดสินใจที่จะยกเลิกภาพที่เคยมี Ref จากเว็บจำนวนมาก ๆ

 

Fresher, more recent results: As we announced just over a week ago, we’ve made a significant improvement to how we rank fresh content. This change impacts roughly 35 percent of total searches (around 6-10% of search results to a noticeable degree) and better determines the appropriate level of freshness for a given query.

เนื้อหาที่สดใหม่ – อย่างที่ Google เพิ่งประกาศเรื่องเนื้อหาสดใหม่มาเมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบการ search ของ Google 35 % (6-10% รับรู้ได้อย่างชัดเจน) และมันยังช่วยวัดระดับความถูกต้องของความสดใหม่ของคำค้นหาด้วย

เรื่องนี้ไม่ได้กระทบไปซะทุกส่วนนะครับ ที่กระทบจริง ๆ จะเป็นพวกเนื้อหาที่ต้องการความสดใหม่จริง ๆ เช่น กีฬาชนิดต่าง ๆ เป็นต้น หากใครเล่นเว็บแนวนี้อยู่อาจจะต้องอัพเดทกันแบบกึ่ง ๆ real time หน่อย (รายการโทรทัศน์อาจจะมีผลกระทบด้วยเช่นกัน)

 

Refining official page detection: We try hard to give our users the most relevant and authoritative results. With this change, we adjusted how we attempt to determine which pages are official. This will tend to rank official websites even higher in our ranking.

ปรับปรุงการตรวจสอบเว็บที่เป็น Official – Google พยายามที่จะให้ผลลัพธ์ที่มีทั้งความเกี่ยวข้อง และความน่าเชื่อถือกับ users เพราะฉะนั้นจึงพยายามหาเพจที่มีความเป็นทางการ เพื่อตอบวัตถุประสงค์นี้ และแน่นอนว่า official website จะมีอันดับที่สูงขึ้นแน่นอน

แม้ว่าจะดีต่อ official website แต่แบบนี้จะเกิดความเสี่ยงต่อ web ที่ไม่เป็น official ไม่น้อย เพราะอาจจะโดนแย่งอันดับไปแบบถาวร และไม่มีอะไรการันตีได้ว่า user ที่ไปอ่าน official เว็บแล้วจะกลับมาอ่านผลลัพธ์อันอื่นต่อ … คงต้องดูกันไปก่อนว่าจะส่งผลกระทบมากแค่ไหน ถ้าไม่ถึงขั้นผูกขาด ก็คงต้องเตรียมการรับมือกันไว้

 

Improvements to date-restricted queries: We changed how we handle result freshness for queries where a user has chosen a specific date range. This helps ensure that users get the results that are most relevant for the date range that they specify.

ปรับปรุงคำค้นหาที่มีการระบุช่วงเวลา – การปรับปรุงนี้จะช่วยให้ users ได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการมากขึ้นอย่างชัดเจน

ด้วยความเป็นคนจัดการ SEO ของเว็บแล้ว เราจะต้องคิดวิธีหาประโยชน์จากส่วนนี้ไว้ด้วย กิจกรรมอะไรบ้างที่มีโอกาสถูกระบุเวลาไว้ในคำค้นหาหากเราไม่มองข้าม เราน่าจะได้ traffic มาอีกไม่น้อย

 

Prediction fix for IME queries: This change improves how Autocomplete handles IME queries (queries which contain non-Latin characters). Autocomplete was previously storing the intermediate keystrokes needed to type each character, which would sometimes result in gibberish predictions for Hebrew, Russian and Arabic.

แก้ไข Autocomplete สำหรับ IME queries – เป็นการแก้ไขคำค้นหาที่ไม่มี non-Latin character ซึ่งก่อนหน้านี้การกด keyboard ทีละตัว ๆ นั้นส่งผลให้บางครั้ง คาดการเป็นภาษา Hebrew  Russian และ Arabic

ตรงนี้คงไม่เกี่ยวอะไรกับเรามาก เพราะแค่เป็นการปรับระบบของ Google ถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น

เอาละผมก็คงไม่มีอะไรละ หมดประโยชน์แล้วเหมือนเคย ฮ่า ๆๆๆ ยังไงก็ลองเอาไปคิดกันดูแล้วกันนะคร้าบ

1 Comment on ปรับอัลกอริทึมปลายปี 2011 Google Algorithm Updated

  1. kongkawee says:

    ขอบคุณสำหรับความอันมีคุณค่าครับ

Leave a Reply to kongkawee Cancel reply

*


*