อย่างที่เราหลาย ๆ คนรู้ว่านอกจาก Algorithm แล้ว Google ก็ยังมีคนคอยตรวจเว็บด้วย เพราะว่า machine ยังทำบางอย่างไม่ได้ และ Google Rater นั้นก็จะมีคู่มือสำหรับให้คะแนนเว็บไซต์ต่าง ๆ ไว้อ่านก่อน เพื่อที่จะได้ให้คะแนนได้อย่างมีมาตฐานในแบบของ Google และจากการที่มีตัวนี้หลุดออกมา และทาง SeoMoz ได้สรุปออกมา 16 ข้อ ใน 16 Insights into Google’s Rating Guidelines เมื่อคืนนี้(26/10/2011 เวลาเกือบ ๆ เที่ยงคืนของบ้านเราเห็นจะได้) ผมจึงเอาเวลามาเขียนบทความนี้ก่อน (ที่จริงว่าจะเขียนอย่างอื่น) เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์และเปิดมุมมองให้หลาย ๆ คนได้คิดกัน ผมแปลแบบคร่าว ๆ นะครับ เน้นเนื้อ ๆ ไม่เอาน้ำดีกว่าเพราะหลายข้อเหลือเกิน

* เอกสารที่หลุดออกมาไม่ค่อยได้พูดถึงการนับ Backlink, linking ของ block c, จำนวน domains ที่ link เข้ามาหาเรานะครับ

(1) Relevance Is A Continuum

Google กำลังมอง “ความเกี่ยวข้อง” อย่างกว้าง ๆ เพราะว่าคนตรวจ (Rater) ถูกบอกให้ตรวจความเกี่ยวข้องเป็น 5 ระดับ “สำคัญมาก”, “มีประโยชน์”, “เกี่ยวข้อง”, “เกี่ยวข้องนิดหน่อย”, “ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้” (Google ให้ตัวอย่างและวิธีการมากมายเพื่อ rate ให้ได้คุณภาพสูง)

(2) Relevance & Spam Are Independent

ความเกี่ยวข้องนั้นถูกแบ่งเป็นระดับ แต่ spam นั้นถูกแบ่งเป็นการถูก mark หรือไม่ เพราะฉะนั้นในมุมมองของ Google เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ สามารถเป็นเว็บ spam ได้หรือเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องแต่ไม่ใช่เว็บ spam ก็ได้เช่นกัน

(3) The Most Likely Intent Rules

Queries หรือก็คือคำค้นหาที่เราพิมพ์ลงไปในช่อง Search นั้น (บ้านเราบ่อยครั้งเรียกว่า Keyword) บางครั้งมีความหมายกำกวม อย่างเช่น คำว่า “apple” อาจจะหมายถึงหลาย ๆ อย่าง เช่น apple company, apple computer, apple (fruit), หรือ อื่น ๆ … Google บอกให้คนตรวจใช้ความหมายที่ดูชัดเจนที่สุดสำหรับคำ ๆ นั้น และสิ่งที่น่าสนใจก็คือ ความหมายที่ชัดเจนนั้น ๆ มั้งเป็นประโยชน์ต่อ Brand ดัง ๆ … ซึ่งก็คือ ความหมายอื่น ๆ ของ Queries (keyword) นั้น ๆ จะถูกลดค่าความเกี่ยวข้องลง ถ้า queries นั้น ๆ มีความหมาย หลัก ๆ อยู่

(4) Some Results Are “Vital”

“ความเกี่ยวข้องมาก ๆ” นั้นถูกจัดให้อยู่ในเคสพิเศษ อะไรก็ตามที่มีตัวตนอย่างเป็นทางการสามารถมีผลการค้นหาที่ดีได้ เช่น บริษัท นักแสดง นักการเมือง เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วสิ่งเหล่านี้จะมีเว็บไซต์อย่างเป็นทางการอยู่แล้ว … ความหมายหลักเท่านั้นที่จะมีความพิเศษได้ ตัวอย่างเช่น Apple Vacation นั้นไม่มีทางที่จะมีผลการค้นหาที่โดดเด่นเป็นพิเศษสำหรับ “apple”

Social Profile ก็สามารถมีความพิเศษได้ หาก Profile เหล่านั้นเป็นของบุคคลทั่วไปหรือกลุ่มคนเล็ก ๆ แต่ที่น่าสนใจก็คือ Google ระบุชัดเจนว่า Social Media Profile ของบริษัทไม่สามารถได้รับการพิจารณาให้เป็นความพิเศษได้

(5) Generic Queries Are Never Vital

ชัดเจนว่า Walmart.com สามารถได้รับผลการ  search ที่ดีเป็นพิเศษสำหรับคำว่า “walmart” แต่ Couches.com นั้นจะไม่ได้ผลการ search ที่เป็นพิเศษสำหรับคำว่า “couches” … นั่นหมายความว่า keyword ตรง ๆ ในโดเมนจะไม่มีความพิเศษมากนัก หากคำค้นหาที่ใช้มีความเป็นทั่ว ๆ ไป ๆ สูง

(6) Queries Come in 3 Flavors

จากเอกสารของ Google วัตถุประสงค์ของคำค้นหานั้น สามารถแบ่งออกเป็น Action(“Do”), Information (“Know”), หรือ Information (“Go”) … โมเดล Do/Know/Go นี้พูดถึงบ่อยครั้งมากในเอกสาร และค่อนข้างเป็นโครสร้างที่มีประโยชน์ต่อการเข้าใจการ Search … ความเกี่ยวข้องถูกประเมินจากวัตถุประสงค์ ก็คือ ถ้าคำค้นหานั้นมีความเป็น action อย่างชัดเจน (เช่น “buy computer”) ผลการค้นหาที่มีความเป็น action นั้น ๆ ก็สามารถมีความเกี่ยวข้องสูง

(7) Useful Goes Beyond Relevance

Google บอกว่าหน้าเพจที่ “useful” นั้นควรจะเป็นมากกว่าแค่ “เกี่ยวข้อง” มันควรที่จะน่าสนใจ มีผู้คนพูดถึง มีความบันเทิง และ/หรือ เป็นปัจจุบัน ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวคนตรวจเอกด้วย เว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องผ่านเงื่อนไขเหล่านี้ทั้งหมด … แต่กระนั้น “ความเกี่ยวข้อง” อย่างเดียวไม่สามารถได้รับคะแนนสูงได้

(8) Relevance Implies Language Match

ถ้าผลลัพธ์ของการค้นหาไม่ตรงกับคำค้นหาในภาษาเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะถือว่าผลลัพธ์นั้นมีความเกี่ยวข้องต่ำ … ในทางเดียวกัน ถ้าคำค้นหาภาษาหนึ่ง ๆ ไม่ตรงกับผลลัพธ์ของภาษานั้น ๆ เลย ผลลัพธ์ก็ถือว่าไม่เกี่ยวข้องเช่นกัน

(9) Local Intent Can Be Automatic

ถึงแม้ว่าคำค้นหานั้นมีความหมายรวม ๆ มันสามารถกลับกลายเป็นวัตถุประสงค์ของความเป็นท้องถิ่น ( local) ได้ Google ได้ยกตัวอย่าง “ice rink” ว่าควรแสดงผลลัพธ์สำหรับท้องถิ่น และระบุส่วนที่ไม่ได้เป็นท้องถิ่น ให้เป็นไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีประโยชน์ … สิ่งนี้เอาไว้ประยุกต์ใช้กับการมี location อยู่ในคำค้นหาหรือเปล่า

(10) Landing Page Specificity Matters

เพจเป้าหมายนั้นเหมาะกับคำค้นหาหรือไม่ ตัวอย่างเช่น หน้ารายละเอียดสินค้าควรจะเข้าคู่กับ long-tail query สำหรับสิ้นค้านั้น ๆ และในทางกลับกัน query ที่ค่อนข้างกว้าง ควรจะเข้าคู่กับเพจที่ค่อนข้างกว้างเช่นกัน

(11) Misspellings Are Rated By Intent

คำที่สะกดผิดอย่างชัดเจนนั้น ความเกี่ยวข้องจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่ users ส่วนใหญ่ค้นหา เมื่อก่อนนี้คำสะกดผิดเป็นส่วนหนึ่งที่ seo ต้องทำด้วย แต่เดี๋ยวนี้ จะผลักให้ผู้ค้นหาไปยังคำที่สะกดถูก

(12) Copied Content Can Be Relevant

เนื้อหาที่ทำการคัดลอดมาสามารถมีความเกี่ยวข้องได้ สิ่งนี้ค่อนข้างน่าประหลาดใจในช่วงหลังจากที่มีการปล่อย Panda ออกมา แต่ Google รับรู้ได้ว่าเนื้อหาที่คัดลอกมา ไม่ได้เป็นคุณภาพต่ำไปซะทุกเคส ตราบใดที่ถูกจัดการอย่างดี มีประโยชน์หรือไม่ได้ถูกออกแบบมาแค่เพียงเพื่อการแสดง ad … แต่แน่นอนว่าอันนี้ขึ้นอยู่กับความตัวคนตรวจเองด้วย และมันชัดเจนว่ายังไงเก็มีความจำเป็นที่จะเพิ่มคุณค่าให้กับเนื้อหา … เว็บไซต์ที่ไม่มีอะไร นอกจากเนื้อหาที่ก๊อปเค้ามาจะไม่ได้คะแนนที่สูง และเว็บที่ก๊อปเนื้อหามาเพื่อใส่ Ads ไปทั่วจะถูก mark ให้เป็น spam

(13) Some Queries Don’t Need Defining

ผลลัพธ์จาก Dictionary หรือ encyclopedia จะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อ query นั้นมีความต้องการความหมายหรือข้อมูลเพิ่มเติม ถ้า users ส่วนใหญ่เข้าใจความหมายของคำค้นหาอยู่แล้ว Dictionary หรือ encyclopedia จะไม่ถูกพิจารณาให้เป็นประโยชน์

(14) Ads Without Value Are Spam

ข้อความท่้อนหนึ่งที่ถูกเขียนอยู่ในเอกสารก็คือ “ถ้าเพจหนึ่ง ๆ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหาเงินอย่างเดียว เพจนั้น ๆ ก็คือ spam”…. แต่กระนั้นมันก็ยังโอเค ถ้าจะหารายได้จากเว็บหรือ Ads ตราบใดที่เว็บไซต์นั้น ๆ มี content ที่มีคุณค่าช่วยค้ำเอาไว้น่ะนะ

(15) Google.com Is Low Relevance

Google.com นั้นมีความเกี่ยวข้องต่ำ … จาก Google’s standard, ช่อง search box ที่ไม่มีผลลัพธ์แสดงนั้นถือว่าไม่เกี่ยวข้องหรือไร้ประโยชน์ แต่เอกสารก็บอกไว้ว่า internal search result pages สามารถเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ได้ในบางกรณี

(16) Google Raters Use Firefox

คนตรวจ Google ใช้ Firefox … Google Raters ถูกบอกให้ใช้มันคู่กับ web developer add-on

ก็หมดแล้วเท่านี้ เราอาจจะไม่ได้รู้อะไรทั้งหมด แต่ก็อาจจะได้ภาพรวมว่า่ Google มองเว็บต่าง ๆ เป็นแบบไหน เพื่อเอามาประยุกต์ใช้กับ seo ได้ดีขึ้นต่อไป ถ้าคิดดี ๆ ผมว่าได้อะไรดี ๆ เยอะนะครับ

ปล. หากคุณต้องการรับข่าวสารจาก blog นี้ คุณสามารถกรอก email คุณที่ด้านขวาบนของเว็บได้นะครับ

4 Comments on สรุปคู่มือสำหรับคนตรวจคุณภาพเว็บ (Google Quality Rater) 2011

  1. sawit says:

    เป็นประโยชน์มากครับ

  2. SEOgoup says:

    อ่านจบแล้วได้ประโยชน์อย่างมากครับ
    ขอบคุณครับ

  3. ฟังเพลงออนไลน์ says:

    ตรวจคนด้วยหรือค่ะนี้ แจ่มจริง

Leave a Reply

*


*