ในโลกของเนื้อหาต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (โดยเฉพาะงานวิจัยต่าง ๆ) จะมีการพูดถึงที่มาที่ไปของเนื้อหาเหล่านั้น หรือก็คือการอ้างถึง (Citation) นั่นเอง เพียงแต่สิ่งที่เปลี่ยนไปจากอดีตค่อนข้างมากก็คือ ปัจจุบันโลกแห่ง internet ทำให้ผู้คนสามารถเขียนอะไรก็ได้ โดยมีการกล่าวถึงเนื้อหาของสิ่งที่ตนเขียนว่าเกี่ยวกับอะไร ซึ่งหากมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงก็จะมีการพูดถึงอยู่ในบทความด้วย ซึ่งเมื่อสิ่งนี้มารวมกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน จึงทำให้สามารถที่จะเป็นตัวเชื่อมโยง Content ในโลกอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกันได้ (สามารถที่จะบอกได้ว่าเพจนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร และจากข้อความที่อ้างถึง สามารถบอกได้ว่าเว็บที่อ้างถึงเกี่ยวกับอะไร)

ในตอนที่เห็น Rand Fishkin เอามาอธิบายใน Whiteboard Friday เรื่อง Prediction: The Dying of Anchor Text ตอนแรกที่เห็นและเริ่มต้นฟังนั้น ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่เห็นจะเป็นเรื่องใหม่ตรงไหน เพราะจำได้ว่า เคยเห็น Matt Cutts อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ การใช้ Anchor Text ของเพจหนึ่ง ๆ เพื่อบอกว่าเพจปลายทางนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรมาแล้ว แต่พอฟัง Rand ไปเรือย ๆ จึงรู้สึกว่า การพัฒนาการเรื่อง Citation นั้นมีการพัฒนาไปเยอะมากขึ้นจริง ๆ

จากที่ Rand ได้ยกตัวอย่างมา ทำให้เห็นได้ว่า เว็บเพจสามารถได้อันดับ (Rank) ดี ๆ ได้ โดยที่เพจตัวอย่างทั้ง 3 นั้น ไม่มีหรือแทบจะไม่มี SEO On-Page Factors หลัก ๆ เช่น เว็บเพจติดอันดับดี ๆ (5 อันดับแรก) โดยที่ไม่มี Keywords ที่ติดอันดับอยู่ในใน Title tag และ Url เลย ซึ่งเื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราก็ต้องหันมาดูกันที่ Offpage แน่นอน ซึ่งพอไปดู Backlinks (จากตัวอย่างของ Rand) ก็ปรากฏว่า Backlink เหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ได้บอกว่า เพจปลายทางเป็นอะไร บ้างก็บอกชื่อเว็บไซต์แล้วลิ้งค์กลับมา (ตัวอย่าง Open site explorer) บ้างก็ใช้ชื่อเว็บอีกแต่ว่าลิ้งกลับมาที่โฮมเพจ ซึ่งเพจจริง ๆ ที่พูดถึงนั้นเป็นเพจหน้าใน (ตัวอย่าง Thomas Net) แต่บางอันนี่ไม่แม้แต่จะ Link กลับมา เพียงแค่เป็นข้อความพูดถึงชื่อเว็บเท่านั้น (ตัวอย่าง Consumer Reports) ซึ่งบ่งบอกถึงการพัฒนา Algorithm ของ Google ที่ชัดเจนมาก เพราสามารถใช้วิเคราะห์เนื้อหาได้ว่าเกี่ยวกับอะไร และเกี่ยวกับเว็บอื่นหรือไม่  ซึ่ง Rand ยังกล่าวอีกว่า  ถึงแม้มันอาจจะยังไม่เป็น Algorithm ที่เห็นผลชัดเจนทางในปัจจุบัน แต่มันต้องมาแน่นอนในอนาคต

เมื่อดู Video ของ Rand แล้วผมก็คิดว่าเป็นวิธีการที่ดีของ Google ในการพัฒนาระบบ Search Engine ทีเดียว แต่หากเป็นแบบนี้ผมก็ยังคิดว่า Bot Google ก็ยังไม่น่าจะเก่งพอสำหรับภาษาอื่น ๆ หลาย ๆ ภาษาในโลกนี้ เพราะแม้แต่ตัวแปลภาษาเองยังทำได้ไม่ดีนัก ซึ่งหากระบบเป็นแบนี้ก็คิดว่ากว่าจะใช้ Algorithm oี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับภาษาไทยคงใช้เวลาไม่น้อย

เพียงแต่ว่าผมคิดต่างจาก Rand หน่ิอย (หรือไม่ก็ Rand ไม่ทันได้พูดออกมา หรือไม่ก็ผมฟังไม่ทัน หุหุ) … ผมคิดต่างตรงที่ ผมว่า Google ไม่น่าจะใช้การวิเคราะห์การเกี่ยวข้องกันจากเนื้อหาอย่างเดียว ปัจจุบัน Google มีเครื่องมือมากมายที่จะติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้ Internet ได้ เพราะฉะนั้นก็ไม่น่าจะยากมากถ้า Google จะเอาส่วนนี้เข้ามาประกอบด้วย เช่น ตอนนี้ Google สามารถรู้ว่าเว็บเพจนี้มีคำว่าอะไรบ้าง (โดยไม่ต้องรู้ความหมายทั้งหมดของเนื้อหา) แล้วก็ดูว่าคนที่เข้ามาในเว็บเพจหนึ่ง ๆ จากนั้นก็ไปยังเว็บเพจอีกอันเป็นจำนวนไม่น้อย เช่น จากเพจเพจ a.com/123 จากนั้นก็มีผู้ใช้จำนวนไม่น้อยไปที่เพจ c.com/I-Phone 5 ต่อ (โดยที่ในเพจ a.com 123 มีการพูดถึงเว็บ c.com และ i-phone 5 อยู่ด้วย) ซึ่งหากกระบวนการเป็นแบบนี้ละก็ บอกได้เลยว่าใช้การได้แทบทุกภาษาเลยล่ะ เพราะแค่ Google นับแค่คนใช้ chrome กับเว็บ ที่ติด Google Analytic ก็ติดตามพฤติกรรมได้เป็นจำนวนไม่น้อยแล้ว

หากมองว่า Anchor Text จะตายมั้ย ส่วนตัวแล้วผมว่าก็อาจจะไม่ เพียงแต่ต้องดูความเกี่ยวเนื่องกันของ เพจที่ link ไปด้วย+ดูพฤติกรรมของผู้ใช้ต่อด้วยมากกว่า ซึ่งหากได้ทั้งสองอย่างก็จะทำให้ Google สามารถระบุได้เร็วขึ้นว่าเพจปลายทางนั้นเกี่ยวกับอะไร และเป็นประโยชน์มากแค่ไหน

 

Leave a Reply

*


*