ช่วงหลัง ๆ นี้บ่อยครั้งที่มีคนถามว่าระหว่าง sub domain หรือ sub directory ควรใช้อะไรในการทำ SEO?  ซึ่งผมเองก็เคยมีคำถามนี้กับตัวเองเช่นกัน ก็เลยทำการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องสำหรับทำ SEO จริง ๆ … ซึ่งก่อนจะค้นหาผมคาดว่า sub domain น่าจะเป็นคำตอบที่ใช่ แต่พอค้นหาเสร็จดูเหมือนว่าคำตอบจะไม่ใช่ซะแล้ว อ้าว! ทำไมเป็นยังงั้น? นั่นน่ะสิ ทำไมล่ะ งั้นก็เรามาดูกันเลยดีกว่า

เพราะว่า “จำนวนเพจ หรือ จำนวนหน้าเว็บ” ที่มากขึ้น การมีจำนวนเพจที่มากขึ้นนี้ เป็น Factor หนึ่งในการทำให้อันดับดีขึ้น … อ้าว ผู้อ่านหลายท่านอาจจะงงว่าบทความนี้เกี่ยวกับ sub domain vs sub directory for seo ทำไมไปพูดถึงจำนวนหน้าซะล่ะ … ใจเย็น ๆ ครับ มีมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ ความต่างอยู่ที่ การใช้ sub domain จะถูกมองว่าเป็นเว็บใหม่อีกหนึ่งเว็บไปเลย เช่น www.abc.com กับ mp3.abc.com จะถูกมองว่าเป็น 2 เว็บ แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราเปลี่ยนมาใช้เป็น sub directory ทั้ง 2 ส่วนนี้จะถูกมองว่าเป็นเว็บ ๆ เดียว เพราะงั้น www.abc.com กับ www.abc.com/mp3/ จะถูกมองว่าเป็นเว็บเดียวกัน

ลองมาคิดกันดูนะครับ กรณี sub domain ถ้าเรามาจำนวนหน้าของ www.abc.com ทั้งหมด 100 หน้า และ mp3.abc.com 50 หน้า นั่นหมายความว่า google จะมอง 2 อันนี้เป็นสองเว็บ ดังนี้

1.www.abc.com = 100 หน้า
2.mp3.abc.com = 50 หน้า

แต่ในกรณีของ sub directory จะถูกมองเป็นเว็บเดียวกัน ดังนี้

www.abc.com + www.abc.com/mp3/ = 150 หน้า

อย่างที่บอกไปแล้วก่อนหน้านี้ ว่าจำนวนหน้ายิ่งเยอะยิ่งดี  เพราะฉะนั้นแล้ว ในกรณีทั่ว ๆ ไป การใช้ sub directory จะมีผลในด้าน SEO มากกว่า sub domain ครับ … แต่ผู้อ่านบางคนอาจจะสงสัยขึ้นมา หลังจากผมใช้คำว่า “กรณีทั่ว ๆ ไป” … งั้นแบบไหน คือกรณีไม่ทั่วไปล่ะ? กรณีที่ไม่ทั่วไปก็คือคุณต้องการใช้ประโยชน์จาก sub domain ในการแสดงผลลัพธ์แบบกระจาย หรือก็คือต้องการหลาย ๆ ผลลัพธ์จากการเสิร์ท เพื่อเป็นทางเลือกให้กับ user

หลายคนอาจจะยังงงอยู่ เพราะงั้นอธิบายเรื่องนี้แบบละเอียดหน่อยน่าจะดีกว่า … ก็คือว่า  เว็บ 1 เว็บ จะมีผลลัพธ์ที่ได้จากการ search แค่ 2 อัน ต่อ 1 keyword โดย google จะเลือกเอาหน้าที่ดีที่สุดต่อ keyword นั้น ๆ มาแสดง แต่ google ก็พยายามให้เว็บอื่น ๆ มีโอกาสได้แสดงผลลัพธ์ด้วย จึงจำกัดไว้แค่เว็บละ 2 เท่านั้น (นอกจากว่ามันจะไม่มีคู่แข่งจริง ๆ หรือ ไม่ก็เราเป็น niche ใน keyword นั้นจริง ๆ)

ทีนี้ในเมื่อการใช้ sub domain ถูกมองเป็นคนละเว็บกับเว็บหลัก ข้อจำกัดนี้ก็จะเพิ่มขึ้น ก็คือถ้าเรามี 2 เว็บ ผลลัพธ์ที่แสดง ก็มีโอกาสกลายเป็น 4 ถ้ามี 3  เว็บก็อาจจะกลายเป็น 6 ผลลัพธ์ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทำอันดับให้แต่ละเว็บด้วย และบางทีเราอาจจะยังไม่ต้องพูดถึงกรณีเว็บละ 2 ผลลัพธ์ ผมว่าแค่เว็บละ 1 ผลลัพธ์วางอยู่ติด ๆ กัน ในหน้าแรก ก็เจ๋งแล้ว)

เรามาดูตัวอย่างกัน:
keyword = seobook มีผลลัพธ์ 3 อันติดกัน (ผลการ search ณ วันที่ 24-03-2011 นี้แหละ ) คือ
www.seobook.com/
tools.seobook.com/
tools.seobook.com/keyword-tools/seobook/

สามอันนี้ติดกัน ทั้ง ๆ ที่ ยังมีเว็บ seobook.org หรือ youtube.com/user/seobook

อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ:
keyword = sanook มี 4 อันดับติดกัน จากเว็บ sanook.com แต่ต่างกันตรงที่ sub domain เป็น www, horoscope, news, กับ radio.  ซึ่งตัวอย่างของ sanook นี้เป็นที่ชัดเจนว่า เอาไว้ช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับ user เพราะว่าคำว่า sanook คำเดียว อาจมีความหมายไม่ชัดเจนกับความต้องการของ user ซึ่งพอมีทางเลือกให้เลือก แล้ว user อาจจะเลือกที่ radio เพราะกำลังอยากฟังเพลงออนไลน์ผ่านเว็บ sanook อยู่

ปล. อย่างไรก็ตามบทความนี้พูดถึงข้อเปรียบเทียบในแง่ seo เป็นหลักผู้อ่านบางคนอาจจะบอกว่าใช้ sub domain จัดการง่ายกว่า ซึ่งก็จริงครับ แต่มันก็ไม่เกี่ยวกับ seo นี่นา จริงมั้ย!?

Leave a Reply

*


*