หากใครที่ศึกษา SEO ด้วยตนเองจากเนื้อหาภาษาอังกฤษแล้วละก็ บุคคลเหล่านั้นจะพบเจอคำว่า Trust กับ Authority อยู่บ่อยครั้ง ส่วนในภาษาไทยเองก็มีการพูดถึงบ้างเป็นครั้งคราว บทความนี้จะมาอธิบายว่ามันคืออะไร แล้วมี Factors อะไรบ้างที่เป็นส่วนประกอบของ Trust และ Authority นี้ สำหรับคำว่า Trust ในความหมายของ SEO นั้นหลาย ๆ คนคงจะรู้อยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่รู้นั้น Trust ก็คือความน่าเชื่อถือที่ Google มีต่อเว็บเพจและเว็บไซต์ ยิ่งมีความน่าเชื่อถือมาก งานแต่ละชิ้นที่ออกมา ก็ได้รับความไว้วางใจมาก  ส่วนในด้านของ Authority ในความหมายของ SEO ก็คือศูนย์กลางของข้อมูลในเรื่องใด ๆ ซึ่งจะช่วยบอกถึงความสำคัญและการเป็นที่นิยมในเรื่องนั้น ๆ หรือก็คือเว็บไซต์ที่มี link ภายนอกจำนวนมากยิงเข้ามาที่เว็บไซต์และมีจำนวนลิ้งค์ออกน้อย ๆ (ดูรูปประกอบด้านล่าง) การมีค่า Trust และ Authority สูง ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราติดอันดับได้ง่ายขึ้น

*hub คือเว็บที่มีจำนวนลิ้งค์ออกมาก แต่ลิ้งค์เข้าน้อย แต่ในบทความนี้เราจะไม่พูดถึงเรื่องนี้

hubs and authorities

Hubs and Authorities

เมื่อเข้าใจถึงความหมายของมันแล้ว เรามาลองดูกันดีกว่าว่า ค่า Trust และ Authority มีส่วนประกอบมาจากอะไรบ้าง โดยข้อมูลอ้างอิงก็เอามาจากวิดีโอนี้เลยนะ (Presented โดย Rand Fishkin, CEO Seomoz)

Trust
สำหรับ Trust นั้น มีส่วนประกอบอยู่ 4 ส่วน หลัก ๆ คือ

Who links to you … ใครลิ้งค์มาหาคุณบ้าง ในส่วนนี้ Rand บอกว่า Yahoo เคยอธิบายว่า การวิเคราะห์ Trust โดยอาศัย link ที่ิยิงไปหาเว็บอื่น ๆ จะเริ่มจากเว็บที่ไม่มีการยิงไปหาเว็บ spam เลย หลังจากนั้นก็เอาเว็บปลายทางเหล่านั้นมาคำนวณหาอีก ว่ามีการยิงไปหาเว็บ spam กี่เปอร์เซ็น แล้วก็เอาเว็บปลายทางของรอบที่สองนี้มาหาต่อ ซึ่งจะวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ % ของเว็บที่ยิงไปหาเว็บ spam นั้นก็จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ค่า Trust น้อยลง … เพราะฉะนั้นแล้ว หากเราได้ลิ้งค์จากเว็บที่ยิงออกไปหาเว็บ spam น้อย ๆ เราก็จะได้รับความไว้วางใจมากขึ้นนั่นเอง
Who do you link to … ในทางตรงกันข้ามกับ Factor แรก แล้วคุณล่ะ link ไปหาใครบ้าง อันนี้ก็สำคัญไม่แพ้ข้อแรกเลย เพราะหากคุณลิ้งค์ไปหาเว็บ Spam คุณจะถูกพิจารณาว่าเป็นเว็บ spam ไปด้วย เพราะฉะนั้นแล้วคุณต้องดูดี ๆ ว่า เว็บใด ๆ ที่คุณลิ้งค์ไปหา เป็นเว็บ spam หรือเปล่า และหากคุณลิ้งค์ไปหาเว็บที่มีความน่าเชื่อถือเป็นจำนวนมาก คุณก็จะได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย
Registration info … ข้อมูลในการจด Domain ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาพิจารณาได้ หากคุณจด Domain โดยใช้ชื่อเดียวกันหมดก็จะรู้ได้ว่าเว็บใดบ้างที่มีเจ้าของเดียวกัน หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่อยู่หรือเบอร์โทศัพท์ ก็อาจจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเจ้าของเดียวกันด้วยก็ได้  แล้วมันเกี่ยวกับ Trust ไม่ Trust ยังไง ก็ตรงที่หากเว็บไซต์ของคุณแทบทั้งหมดเป็นเว็บ spam เว็บไซต์ใหม่ ๆ ของคุณก็อาจจะเป็นอยู่ในข่ายไม่น่าไว้วางใจไปด้วย ซึ่งอาจจะติดอยู่ใน Sandbox เพื่อพิจารณาสักระยะ (ความหมาย SandBox ที่ผมใช้ในที่นี้ หมายถึงเว็บที่อยู่ในข่ายที่ต้องพิจารณาคุณภาพก่อน ไม่ใช่เว็บที่ติดโทษแบนแต่อย่างใด)
–  User Data Signal … ข้อมูลจาก user ที่สามารถนำมาใช้ในการบอกถึงความน่าเชื่อถือได้ ซึ่งในส่วนนี้ค่อนข้างกว้าง แต่โดยรวม ๆ แล้ว ก็จะมีพวกข้อมูลที่ได้จาก Google Toolbar, Free-wifi, Google Analytics, Third parties จากทั่วโลก โดยที่ข้อมูลเหล่านี้ อาจจะบอกถึงความเป็นธรรมชาติและไม่ปกติของเว็บต่าง ๆ ได้ แต่เรื่องนี้ค่อนข้างพูดยาก เพราะว่าต้องพิจารณากันค่อนข้างละเอียด และเว็บแต่ละชนิดอาจจะมีข้อจำกัดต่างกัน แต่ก็เอาเป็นว่าถ้าวิเคราะห์ดี ๆ ก็สามารถวัดความน่าเชื่อถือได้บ้างไม่มากก็น้อยนั่นล่ะ … ทีนี้เราก็คงพอมองภาพรวมออกแล้วว่า Trust มีส่วนประกอบอะไรบ้างนะครับ

Authority

คราวนี้มาดู Authority กันบ้าง ซึ่งก็มีส่วนประกอบหลัก ๆ อยู่ 4 อันเช่นกัน

Link Juice / PageRank … ปกติแล้ว PageRank จะเป็นตัววัดค่าของหน้าเว็บแต่ละหน้าเท่านั้น แต่ว่ากรณีนี้ให้มองไปในลักษณะภาพรวมของ Domain เป็นการวัดค่าของลิ้งค์ที่ยิงเข้าและออกในระดับ Domain Level แต่ในส่วนนี้จะเกี่ยวเนื่องกับข้อถัดไปด้วย
Diversity of Link Source … เมื่อก่อนนี้การได้ Backlink จากเว็บ PR สูง ๆ เพียงเว็บหรือสองเว็บ ก็ช่วยให้เว็บเรามีอันดับที่ดี และถูกพิจารณาว่าเป็นเว็บที่มีความสำคัญแล้ว แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านั้นได้เปลี่ยนไป คุณภาพของเว็บต้องได้รับพิจารณาถึงความหลากหลายของ Link ที่เราได้มาด้วย ซึ่งก็คือการได้ link มาจากหลาย ๆ โดเมน (ที่มี Registration info แตกต่างกัน) และโดเมนเหล่านั้น ก็ยิง link ตรงมาที่เราโดยตรง เพราะฉะนั้นแล้ว การมองภาพรวมในระดับ Domain level จึงมีส่วนสำคัญเช่นกัน
Temporal Analysis … สำหรับเว็บที่ทำการปั่นให้ได้อันดับดี ๆ นั้น อาจจะเกิดเหตุการที่ว่า link ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นขั้นบรรได แต่อยู่ ๆ ก็มีช่วงระยะเวลาหนึ่งที่จำนวน link เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาถัดมาเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจจะถูกตรวจสอบว่ามีการ ซื้อ link มาหรือเปล่า และหากเป็นเช่นนั้นเว็บเราก็จะถูกลดค่า Authority ลง เพราะไม่ได้มีลิ้งค์เข้ามาอย่างเป็นธรรมชาติ (Google ต้องการลดช่องว่างระหว่างคนที่มีเงินทำเว็บกับที่ไม่มีให้มากที่สุด)
Distribution Analysis … ในกรณีที่เว็บเรามี PR สูงและมี link เข้ามาเยอะจริง แต่กลับมี link เข้ามาหาเพียงแค่เพจหรือสองเพจ ในขณะที่เพจอื่น ๆ ไม่มี link เข้ามาเลย ตรงนี้ก็จะสามารถถูกพิจารณาได้ว่า ไม่ควรมีค่า Authority สูง อย่าง Wikipedia เองมี เพจต่าง ๆ มากมายแต่ก็มี link เข้ามายังเพจเหล่านั้นมากมายเช่นกัน

เรื่อง Trust และ Authority นี้ ผมอยากให้ท่านผู้อ่านจำเอาไว้เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำ SEO ซึ่งหากเรามีความเข้าใจพื้นฐานดีแล้ว เราจะสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ … สำหรับบทความนี้ก็คงจบแต่เพียงเท่านี้แหละนะครับ

11 Comments on Trust และ Authority คืออะไรในแง่ของ SEO

  1. เป็นกำลังใจให้ครับ แอบ่านอยู่เงียบๆ

  2. HARRY says:

    ได้ความรู้เรื่อง SEO เยอะเลย เข้าใจเรื่อง Trust มากขึ้น ขอตามอ่านประจำอีกบล็อกนะครับ

    • Satit Chaprasit says:

      ขอบคุณที่แวะมาอ่านครับ จะแวะมาบ่อยแค่ไหนก็ยินดีเสมอเลยครับ อิอิ

      ยังไงผมจะพยายามหาเวลามาเขียนเพิ่มให้มากที่สุดนะคร้าบบบ

  3. อ่านแล้วหายสงสัยเลยครับ ได้ความรู้มากมาย เป็นกำลังใจให้เขียนบทความดี ๆ แบบนี้ต่อไปนะครับ

    • Satit Chaprasit says:

      ขอบคุณครับ จะพยายามหาข้อมูลมาเขียนเรื่อย ๆ นะคร้าบ

      • แล้วอายุของเว็บไซต์ เกี่ยวกับทั้ง Authority Website และ Trust หรือเปล่าครับ

        • Satit Chaprasit says:

          ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าอายุของ domain ไม่น่าจะเกี่ยวกับ Authority นะครับ แต่เรื่อง Trust เนี่ยผมคิดว่าอายุของโดเมนน่าจะมีผลอยู่บ้าง อายุโดเมนที่มีมานานแล้วและอายุโดเมนที่ยังเหลือมีความน่าเชื่อถือในตัวเองพอสมควรอยู่แล้ว… แต่ยังไงก็เถอะคงไม่เยอะมากเท่าไรหรอกครับ ถ้าคุณมีทุนเหลือ ๆ ผมก็จดไปนะหลาย ๆ ปีเนี่ย แต่ถ้าไม่มีทุนผมก็จะไม่ไปกังวลอะไรกับมันมากนะ เพราะยังมีอีกหลายเรื่องให้กังวล

  4. บทความดีครับ เป็นกำลังใจให้เขียนอะไรดีๆแบบนี้ต่อไปครับ ผมอยากอ่านอังกฤษเก่งๆบ้าง ผมจาได้ไปเซาะหาความรู้จากฝรั่งบ้างง

  5. lek says:

    Authority กับ Domain Authority เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่าคะ

    • Ngokung says:

      Authority ในที่นี้หมายถึงทั้ง Domain Authority และ Page Authority ครับ ซึ่งมันก็แล้วแต่ว่าคุณจะดูค่าของมันจากระดับ Domain level หรือ Page level ครับ

Leave a Reply


*