หุหุ หลังจากห่างหายไปจากเว็บบล็อกไปนานถึง 10 วันเต็ม -*- (ช่วงนี้วุ่น ๆ จริง ๆ นะคร้าบบบ) วันนี้ขอนำเสนอข้อมูลพื้นฐานที่ใคร ๆ อาจจะไม่รู้อย่าง Link Quality หรือ Link ที่มีคุณภาพนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง? จาก Video ของ Rand Fishkin ด้วยหัวข้อเรื่อง Link Quality vs Link Quantity … ซึ่งที่จริงแล้ว Rand ไม่ได้พูดถึง link Quantity (จำนวนลิ้งค์) มากนัก แต่เนื้อหานั้นเน้นหนักไปทางที่ว่า คุณภาพของลิ้งค์นั้นสำคัญกว่าจำนวนเป็นไหน ๆ นั่นเอง ซึ่ง Rand ยังคงอธิบายถึง Factors หลัก ๆ ของลิ้งค์ที่มีคุณภาพให้เราได้เข้าใจกันด้วย … จากวิดีโอนี้ Factors หลักนั้นประกอบไปด้วย (คำอธิบายผมเพิ่มส่วนของผมเองลงไปบ้าง เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นนะคร้าบ)
หากใครที่ศึกษา SEO ด้วยตนเองจากเนื้อหาภาษาอังกฤษแล้วละก็ บุคคลเหล่านั้นจะพบเจอคำว่า Trust กับ Authority อยู่บ่อยครั้ง ส่วนในภาษาไทยเองก็มีการพูดถึงบ้างเป็นครั้งคราว บทความนี้จะมาอธิบายว่ามันคืออะไร แล้วมี Factors อะไรบ้างที่เป็นส่วนประกอบของ Trust และ Authority นี้ สำหรับคำว่า Trust ในความหมายของ SEO นั้นหลาย ๆ คนคงจะรู้อยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่รู้นั้น Trust ก็คือความน่าเชื่อถือที่ Google มีต่อเว็บเพจและเว็บไซต์ ยิ่งมีความน่าเชื่อถือมาก งานแต่ละชิ้นที่ออกมา ก็ได้รับความไว้วางใจมาก ส่วนในด้านของ Authority ในความหมายของ SEO ก็คือศูนย์กลางของข้อมูลในเรื่องใด ๆ ซึ่งจะช่วยบอกถึงความสำคัญและการเป็นที่นิยมในเรื่องนั้น ๆ หรือก็คือเว็บไซต์ที่มี link ภายนอกจำนวนมากยิงเข้ามาที่เว็บไซต์และมีจำนวนลิ้งค์ออกน้อย ๆ (ดูรูปประกอบด้านล่าง) การมีค่า Trust และ Authority สูง ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราติดอันดับได้ง่ายขึ้น *hub คือเว็บที่มีจำนวนลิ้งค์ออกมาก แต่ลิ้งค์เข้าน้อย […]
Continue reading about Trust และ Authority คืออะไรในแง่ของ SEO
ไม่ได้อัพบทความไปประมาณ 1 สัปดาห์ได้ เนื่องจากช่วงนี้มีอะไรต้องทำเยอะ แต่วันนี้ก็พยายามเร่งอัพให้ได้บทความนี้ ที่เป็นทั้งพื้นและเป็นมุมมองที่น่าสนใจอีกเรื่องนึง ซึ่งก็คือ Flat site Architecture หรือ โครงสรา้ง(หรือสถาปัตยกรรม)เว็บแนวราบ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในการออกแบบโครงสร้างภายในเว็บไซต์ และดูเหมือนว่าหลาย ๆ คนกำลังมองข้ามมันอยู่ด้วย หลักการของ Flat site Architecture นี้ก็เป็นเรื่องง่าย ๆ นั่นก็คือการออกแบบโครงสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ user นั้น click น้อยครั้งที่สุด ไม่ว่าจะไปเพจใดใดก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ลองคิดดูว่าถ้าเราเข้าไปที่หน้าแรกของเว็บ แล้วต้องคลิ้กเลือกนู่นเลือกนี่ตั้งหลายครั้ง กว่าจะถึงรายละเอียดของสินค้าที่เราจะดูจริง ๆ ..แบบนี้ไม่ใช่ โครงสร้างแนวราบแต่เป็นโครงสร้างแนวลึก ซึ่งตรงนี้ต้องเข้าใจด้วยว่า ปกติแล้วเราจะเสีย % บางส่วนของ PR juice ไปฟรี ๆ ทุกครั้งที่มีการส่ง PR juice ผ่านลิ้งค์มา (เดี๋ยวเรื่องนี้ผมจะอัพเดทข้อมูลในส่วนเนื้อหาของ PR ให้อีกที) นั่นหมายความว่ายิ่งสร้างเป็นแนวลึกมากเท่าไร เรายิ่งเสีย PR […]
Continue reading about SEO กับโครงสร้างเว็บแนวราบ (Flat site Architecture)
หลาย ๆ คนอาจจะรู้จัก Yahoo Site Explorer[1] อยู่แล้วว่าเป็น Tool ที่ใช้สำหรับทำการวิเคราะห์ Backlink ของเว็บเราและเว็บของคนอื่น ๆ ได้ ซึ่งผมคงไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรมากกับตรงนั้น เพราะน่าจะมีเว็บหลาย ๆ เว็บอธิบายไว้แล้ว วันนี้ผมจึงขอยกเครื่องมือที่มีลักษณะเดียวกับเจ้า Yahoo Site Explorer นี้มาให้ได้ทดลองดูกัน ซึ่งเจ้าเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ลิ้งค์ตัวนี้มีชื่อว่า Open Site Explorer[2] ซึ่งเป็น SEO Tool จาก SeoMoz[3] บอกก่อนนะครับว่า ส่วนตัวแล้วผมชอบใช้ OpenSiteExplorer มากกว่าของ Yahoo ซะอีก เนื่องจากว่าความสามารถของมันเจ๋งกว่าของ Yahoo นั่นเอง (ย้ำนะครับว่าส่วนตัว เดี๋ยวถ้าเกิดไปเจอ Yahoo Fan Club เข้าผมจะแย่ แฮ่ะๆ ยังไงก็ลองพิจารณากันเอง แล้วก็แล้วแต่ชอบนะครับ) ..ที่ผมว่าความสามารถของมันมากกว่า ก็ตรงที่มันสามารถบอกเราได้ว่า:
Continue reading about opensiteexplorer ทางเลือกใหม่สำหรับ SEO Link Analysis
Over-optimization ในที่นี้ก็คือ การทำ SEO มากเกินไป ซึ่งมันจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี … สำหรับบทความนี้ ผมจะไม่พูดถึง onpage over-optimization เพราะว่าเป็นแค่การ spam keyword มากเกินไป แต่จะมาพูดถึงปัญหาของการทำ offpage over-optimization แทนเพราะมี factor ที่น่าสนใจอยู่หลายตัว หลาย ๆ คน รู้อยู่แล้วว่า PageRank คืออะำไรและมันเกี่ยวกับการทำ SEO offpage โดยตรง เพราะการทำ SEO offpage นั้น Focus ไปที่การหาลิ้งค์เข้ามาในเว็บเรา ด้วยเหตุนี้เอง หลาย ๆ คนก็พยายามหาวิธีที่จะได้ link เข้ามาสู่เว็บเรามากขึ้น ๆ เพราะยิ่งมี link มากก็ยิ่งดี แถมไดเ PR ที่สูงขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นแล้วไม่น่าแปลกใจเลย ที่เกิดวิธีการสร้าง link แบบผิดธรรมชาติขึ้นมา (Unnatural link-building) […]