สำหรับบทความนี้ ผมขอยกประเด็นจาก Youtube มาละกัน เนื่องจากเห็นว่า Video ของ Matt Cutts อันนี้มีน่าจะเป็นประโยชน์ในภาพรวมของ การทำ SEO (อันอื่นของเค้าก็มีประโยชน์นะครับ) ซึ่ง Video อันนี้ว่าด้วยเรื่อง SEO misinformation หรือ การใช้ข้อมูลที่ดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลมาทำ SEO นั่นเอง ซึ่งจากใน Video Cutts ได้ยิงประเด็นมา 5 อย่างดังนี้:
เรื่อง IP นี้มีการพูดกันมานานมาก ๆ ในวงการนี้ ผมได้ยินเรื่องนี้มาแล้วหลายปี และผมก็เชื่อมาตลอดว่า การมีเว็บไซต์หลาย ๆ เว็บไซต์ที่มีหมายเลข IP เดียวกัน จะได้ค่า PR หรือ factors อื่น ๆ ที่จะช่วย Ranking น้อยกว่าการมี IP Class C … แต่หลังจากที่ผมทำการศึกษาข้อมูลในด้านมีสักระยะหนึ่ง ผมก็รู้แล้วว่าผมต้องเปลี่ยนความเชื่ออันนั้นซะ สำหรับบทความนี้ ผมเชื่อว่ามันขัดกับความเชื่อของคนทำ SEO หลายๆ คน โดยเฉพาะในประเทศไทย ผมจึงนำแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมากมาแสดงให้ดู (จาก blog ของ Matt Cutts ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ Google) … แต่สิ่งที่ผมเปลี่ยนความเชื่อไม่ใช่บทความนี้นะครับ ผมเปลี่ยนมาก่อนแล้ว ด้วยเหตุผลที่ผมจะอธิบายให้ฟังในช่วงครึ่งหลังละกัน จากบทความของ Matt Cutts myth busting virtual hosts vs dedicated ip […]
เป็นโชคดีของผมที่ตอนเรียนต่อปริญญาโทนั้นอาจารย์ที่สอนวิชา Data Mining ให้หาข้อมูลเรื่อง Google PageRank Algorithm (PR Algorithm) และได้ให้ไปศึกษางานวิจัยที่ชื่อว่า The PageRank Citation Ranking ซึ่งทำให้ผมเข้าใจว่า PageRank (PR) นั้นสามารถคำนวณได้อย่างไร ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลยที่เราจะทำความเข้าใจมัน (จะว่าง่ายก็ได้เลยทีเดียว) … ฝากไว้อย่างนึงว่า PR เนี่ยคือการวัดค่า หน้าเว็บหนึ่งหน้าเท่านั้นนะครับไม่ใช่ทั้งเว็บ และมีค่าตั้งแต่ 0 – 10 (แต่ในช่วงแรก ๆ อาจจะขึ้น n/a) ผู้อ่านบางท่าน อาจจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วมีค่า PR สูงแล้วดียังไง? มันก็ดีครงที่ว่า เว็บเรา PR เนี่ย เป็น Factor หนึ่งในการจัดอันดับของ Google โดยที่ Google ได้ใช้ PageRank เป็นส่วนหนึ่งสำหรับวัดว่าเว็บเพจแต่ละอันมีความสำคัญมากแค่ไหน แต่การมี PR สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้อันดับดีกว่าเพจที่มี […]
จากบทความที่แล้ว sub domain vs sub directory ในการทำ seo ทำให้เรารู้แล้วว่า sub domain จะถูก google มองว่าเป็นอีกเว็บหนึ่ง (คนละตัวกับเว็บหลัก) ซึ่งบทความนี้ก็เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้เช่นกัน … คุณเคยสงสัยมั้ยว่า จะใช้ www.เว็บคุณ.com หรือ เว็บคุณ.com (ไม่มี www) จะทำให้เว็บคุณมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน? ซึ่งจริง ๆ แล้วแ่่่ต่คำตอบกลับกลายเป็นว่า อันไหนก็เหมือนกันหรือมีค่าเท่ากันนั่นแหละ แต่ก็นั่นแหละ นั่นไม่ใช่ประเด็นที่ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมา มันมีประเด็นให้ผมต้องหยิบเรื่องนี้มาพูด มาดูกันเลยดีกว่า ประเด็นของบทความนี้ก็คือ การใช้บทความที่มีเนื้อหาซ้ำกัน (Duplicate Content) ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะ Google เพิ่งจะอัพเดท algorithm (panda algorithm) ที่จัดการกับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำ หรือมีการใช้เนื้อหาซ้ำกับที่อื่น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคุณอาจจะไม่เคยคิดเลยว่า บทความที่คุณเขียนเองก็กลายเป็น duplicate content ได้และมันเป็นทันทีที่คุณนำเนื้อหานั้นขึ้นไปบนเว็บคุณเลยด้วย … สำหรับผู้ที่มีสกิลในการทำ SEO สูงอยู่แล้วอาจจะไม่มองข้ามปัญหานี้ […]
ช่วงหลัง ๆ นี้บ่อยครั้งที่มีคนถามว่าระหว่าง sub domain หรือ sub directory ควรใช้อะไรในการทำ SEO? ซึ่งผมเองก็เคยมีคำถามนี้กับตัวเองเช่นกัน ก็เลยทำการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องสำหรับทำ SEO จริง ๆ … ซึ่งก่อนจะค้นหาผมคาดว่า sub domain น่าจะเป็นคำตอบที่ใช่ แต่พอค้นหาเสร็จดูเหมือนว่าคำตอบจะไม่ใช่ซะแล้ว อ้าว! ทำไมเป็นยังงั้น? นั่นน่ะสิ ทำไมล่ะ งั้นก็เรามาดูกันเลยดีกว่า เพราะว่า “จำนวนเพจ หรือ จำนวนหน้าเว็บ” ที่มากขึ้น การมีจำนวนเพจที่มากขึ้นนี้ เป็น Factor หนึ่งในการทำให้อันดับดีขึ้น … อ้าว ผู้อ่านหลายท่านอาจจะงงว่าบทความนี้เกี่ยวกับ sub domain vs sub directory for seo ทำไมไปพูดถึงจำนวนหน้าซะล่ะ … ใจเย็น ๆ ครับ มีมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ ความต่างอยู่ที่ การใช้ sub domain […]
Continue reading about ระหว่าง sub domain กับ sub directory สำหรับ SEO
ผู้อ่านหลาย ๆ คนเริ่มรู้แล้วว่า SEO คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร (หากเป็นผู้อ่านที่ไม่มีความรู้พื้นฐานอะไรเลย ผมแนะนำให้อ่านบทความเดิมตามลิ้งค์เลยนะครับ) แต่สำหรับผู้อ่านที่เริ่มเข้าใจถึงความสำคัญของ SEO แล้ว อาจะมีความสงสัยว่าการทำ SEO นั้นเค้าทำกันยังไง ซึ่งนั่นก็เป็นอะไรที่ผมกำลังจะอธิบายในบทความนี้นั่นเอง แต่คงไม่ได้ลงไปถึงรายละเอียดที่ลึกมาก เอาเพียงแค่ภาพรวมก่อนดีกว่า ไม่งั้นอาจจะจำกันไม่หมดหรือไม่ก็งงกันไปใหญ่ได้เลยทีเดียวเชียว วิธีการปรับแต่ง SEO ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือ SEO onpage และ SEO offpage ซึ่งทั้งสองแบบนี้ถ้าจะให้พูดกันง่าย ๆ ก็คือ การปรับแต่ง SEO โดยอาศัยปัจจัยภายใน (On-page) และปัจจัยภายนอก (Off-page) นั่นเอง… คำพวกนี้ หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยฟังผ่านมาแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจ ว่ามันคืออะไรกันแน่ หากเป็นแบบนั้น ก็ลองมาดูคำอธิบายที่ละเอียดขึ้นมาอีกหน่อยกันดีกว่า
ก่อนอื่นเลยผมอยากให้ทำความเขาใจกันก่อนว่า SEO คืออะไร มีไว้เพื่ออะไร เืพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่มีความรู้และมีความเข้าใจจุดนี้มากขึ้น (หากใครคิดว่ารู้อยู่แล้วจะข้ามเนื้อหาส่วนนี้ไป หรืออยากจะอ่านเพื่อดูว่ามีมุมมองที่คล้าย ๆ กับกับผมหรือไม่ก็ได้) ทุก วันนี้ไม่ว่าจะเป็นบริษัท องค์กร หรือเจ้าของกิจการขนาดย่อม ต่างก็ต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่หลาย ๆ บริษัทและกิจการเหล่านั้นยังมุ่งทำเว็บไซต์ เพื่อความน่าเชื่อถือของบริษัทเพียงอย่างเดียว เพราะมีความต้องเพียงแค่ความน่าเชื่อถือเพียงอย่างเดียวนี้เอง ทำให้ไม่สามารถใช้งานประโยชน์จากเว็บไซต์ได้อย่างเต็มที่ และเป็นผลให้ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนสำหรับการลงทุน (ROI) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ามองในโลก offline ก็เปรียบเสมือนกับการที่ร้านขายขนมหวานเล็ก ๆ ที่เคยเช่าพื้นที่เล็กมาขายของ ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นร้านขายขนมอย่างเป็นทางการ (เปรียบกับการโพสข้อมูลตามบอร์ดไปเป็นมีเว็บไซต์) แน่นอนว่าทุกอย่างฟังดูดี ไม่เห็นจะมีอะไรเสียหายตรงไหน … แต่ลองมาคิดดูแล้ว เจ้าของร้านขนมนั้น ได้สนใจหรือเปล่าว่าทำเลร้านดีแค่ไหน หากอยู่ในซอยลึกสุด ๆ จะคุ้มค่าที่ลงทุนไปหรือเปล่า
เนื่องจากอันนี้เป็น Post อันแรกของผมสำหรับ Blog Sci-Art-SEO นี้ ผลจึงขอแสดงความเห็นแรง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะขัดต่อแนวทางของคนไทยที่ทำ SEO อยู่กันสักหน่อย แต่จากการที่ผมเก็บข้อมูลมาสักระยะหนึ่งแล้ว ผมจึงแน่ใจว่าอันนี้แหละสำคัญ ควรจะเปิดประเด็นให้ได้อ่านและแสดงความคิดเห็นกัน ทุกวันนี้ ผมว่ากลุ่มคนไทยหลาย ๆ กลุ่มที่ทำ SEO อาจจะสับสนในเรื่องนี้กันไม่น้อย เพราะดูเหมือนว่าจะทำ SEO offpage โดยอาศัยการแลก link โดยไม่สนใจว่าเว็บที่เราแลกลิ้งค์ด้วยนั้นเป็นอย่างไร เป็นเว็บ spam หรือเปล่า ซึ่งหลาย ๆ คนแลกลิ้งค์โดยดูจาก PageRank (PR) อย่างเดียวจริง ๆ โดยที่ให้เหตุผลว่า “ก็วัดคุณภาพจาก PR ไง” … แต่ในมุมมองของผมนั้น PR แค่ส่วนเดียวไม่ใช่ทั้งหมด เราต้องยอมรับว่า PR ของแต่ละเว็บ จะยิ่งสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าเว็บ ๆ นั้นจะเป็นเว็บ spam หรือเปล่า เพราะว่าเค้าก็จะตามหาลิ้งค์เข้ามาเพิ่มเรื่อย […]