สำหรับสายวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ Google Analytics เป็นเครื่องมือนั้น ย่ิมรู้ดีอยู่แล้วว่าค่า Bounce Rate นั้น ยิ่งน้อยยิ่งดี แต่บางคนนั้นยังไม่ค่อยเข้าใจว่า bounce rate นั้นหมายถึงอะไรกันแน่ เพราะฉะนั้นผมจึงขอเอาข้อมูลจาก Google มาอ้างอิงเลยละกัน

Bounce rate is the percentage of single-page visits or visits in which the person left your site from the entrance (landing) page.

Bounce rate เป็นเปอร์เซ็นของผู้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์เราเพียงเพจเดียว หรือก็คือผู้ที่ออกจากเว็บไซต์ของเราจากหน้าที่เค้าเข้ามาเลย (เข้ามาแล้ว ออกจาก landing page เลย)

ซึ่งหากมองในแง่ของนักวิเคราะห์แล้ว มันจะถูกมองว่า landing page ของเราไม่ดี ไม่สามารถให้ข้อมูลดี ๆ กับคนที่เข้ามาอ่านเนื้อหาได้ … แต่ว่ามันกลับมีปัญหาอยู่หน่อย ตรงที่ว่า คนที่เข้ามาแล้วอ่านเนื้อหานาน ๆ แต่อ่านเพียงหน้าเดียว ก็ถูกมองว่าเป็น bounce rate ไปด้วย (ซึ่งหากมานั่งคิดดูดี ๆ คนที่มาอ่านนาน ๆ ถึงแม้ว่าจะอ่านเพียงหน้าเดียว แต่ข้อมูลก็เป็นประโยชน์กับคน ๆ นั้น) ทำให้เราไม่สามารถได้รับข้อมูลที่ชัดเจนไปวิเคราะห์ว่า ตกลงเพจนี้มันดีหรือไม่ดีกันแน่ ….. แต่วันนี้เราจะมาปรับแต่ง Google Analytics เพื่อให้มันสามารถบอกเราได้ว่าจริง ๆ แล้ว คนเข้ามาเป็น bounce rate หรือเปล่า… ซึ่งคิดว่าน่าจะถูกใจนักวิเคราะห์ไม่น้อยเลย อ่านต่อ »

ตั้งแต่ปลายปี 2011 Google ก็ให้ข่าวคราวการเปลี่ยนแปลง Algorithm เข้ามาทุกเดือน ๆ เลย ซึ่งผมก็ไม่ค่อยมานั่งแปลเท่าไร เพราะคิดว่ามันไม่ได้มีอะไรมาก ไม่เหมือนกับการที่ปล่อย panda ออกมาเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว แต่อัพเดทของเดือนกุมภาพันธ์ 2012 (เดือนเดียวกับที่ปล่อย panda เมื่อปีที่แล้วเลยอ่ะ) กลับมีอัพเดทที่ใครที่ติดตามข่าว seo อยู่เรื่อย ๆ จะต้องหันหลังควับกลับไปมองทันที เพียงแต่ว่ารายละเอียดลึกนั้น Google ยังเก็บไว้ไม่ยอมบอกใครซะด้วย อัพเดทอันนั้นก็คือ การเปลี่ยนแปลงการประเมินค่าลิ้งค์ (Link Evaluation Changed) – จาก Search Quality Highlights 40 Changes (Panda 3.3)

Link evaluation. We often use characteristics of links to help us figure out the topic of a linked page. We have changed the way in which we evaluate links; in particular, we are turning off a method of link analysis that we used for several years. We often rearchitect or turn off parts of our scoring in order to keep our system maintainable, clean and understandable.” อ่านต่อ »

Getting Ranks in GA

 

บทความอันอื่นไม่ีรู้ว่าเป็นประโยชน์มากน้อยแค่ไหน แต่เรื่องนี้สำหรับผมบอกได้เลยว่าเป็นประโยชน์มากกกกกกกกกกกก!!!!! แต่สำหรับสายปั่นอาจจะไม่ค่อยชอบใจนัก เนื่องจากไม่ถูกกับ Google Analytics (GA) นั่นเอง ซึ่งการเช็คอันดับในรูปแบบนี้จำเป็นต้องใช้ GA ซะด้วย (แต่ก็ยังแนะนำให้อ่านนะ เพราะอาจจะมีเว็บที่ไม่ได้ปั่นอยู่ในมือหรืออาจจะมีในอนาคตก็ได้)

ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะเบือนหน้าหนี แล้วพูดว่า “มีตัวเช็คอันดับอยู่แล้ว ไม่เห็นจะเจ๋งตรงไหน ไปดีกว่า”… บอกไว้ก่อนเลยนะครับ ว่าการเช็คอันดับแบบนี้ต่างกับการที่เรามานั่งเช็คอันดับแบบปกติ ไม่ว่าจะด้วยโปรแกรมหรือจะนั่งตรวจสอบอันดับด้วยตัวเอง แต่วิธีการนี้จะทำให้เรารู้อันดับของอีกหลาย ๆ คีย์ที่เราไม่เคยเช็คไปด้วย!!! ซึ่งจะทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมของเว็บตัวเองได้มากขึ้น …. ที่สุดยอดยิ่งไปกว่านั้นคือการปรับแต่งให้ดู ranking แบบนี้ได้นั้นง่ายนิดเดียวจริง ๆ อ่านต่อ »

Google Sand Box

Google Sand Box

 

เนื่องด้วยหลุมทรายเป็นสิ่งหนึ่งที่นักทำ SEO คุ้นเคยกันมานานพอดู ส่วนใหญ่แล้วเว็บที่จะตกหลุมทรายนั้นมักจะเป็นเว็บใหม่ ๆ ที่ Google ระวังการเติบโตเร็วเกินไป หรือการปั่นเว็บให้ติดอันดับดี ๆในเวลาอันรวดเร็ว ผมเองก็เข้าใจเช่นนั้นตลอดมา จนกระทั่งไปเจองานชิ้นหนึ่งที่ทำให้ผมได้เข้าใจว่า Sandbox อาจจะไม่ได้มีการจัดการแค่ระดับเว็บอย่างเดียว แต่มีในระดับเพจด้วย

เหตุผลที่ทำให้คิดว่ามี Sandbox ระดับเพจด้วยก็คือ เว็บที่อยู่ในมือนั้นมีหลายเว็บที่เป็นเว็บเก่าแล้ว และมีการอัพเดทอยู่เสมอ มีการปรับแต่งทั้ง SEO on page และการจัดการ SEO Off page อยู่ในระดับที่คิดว่าน่าพอใจ รวมไปถึงการพยายามให้มีเนื้อหามีคุณภาพสูง  … พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นเว็บเก่าที่เน้นไปที่คุณภาพ แต่มีอยู่เว็บหนึ่งที่บางเพจหายไปจาก Google  (เป็นเพจที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จำนวนหนึ่ง ที่ได้ Ranking ในหน้า 1-2) โดยข้อมูลที่ได้ทำการตรวจสอบแล้ว มีดังนี้: อ่านต่อ »

 

google ban

Banned by Google

 

วันนี้มาแบบไม่ได้อิงทฤษฏีจากที่ไหนนะครับ คือจากการวิเคราะห์ของตัวผมเองล้วน ๆ เพราะฉะนั้นหากใครมีความคิดเห็นต่างหรือเพิ่มเติม ก็ช่วยแนะนำมาด้วยนะครับ

หลาย ๆ คนที่อยู่ในวงการ SEO นั้นดูเหมือนว่าจะเป็นสิงค์นักปั่น โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญขั้นเทพนั้น อาจจะมีวิธีหลีกเลี่ยงการโดนจับกุม (ภายในสามวัน) จากพี่ Google อยู่ หรือเทพ ๆ บางท่านบอกเอาไว้ว่า “หากคิดจะอยู่สายปั่นอย่ากลัวการโดนแบน เพราะหากโดนก็ปั่นใหม่ไม่กลัวอยู่แล้ว” ซึ่งก็ถือว่าเป็นมุมมองที่น่าสนใจไม่น้อย หาก Google มาได้ยืนเข้าคงจี๊ดน่าดู หุหุ … อย่างไรก็ตาม เทพ ๆ เหล่านั้นน่าจะมีวิธีชะลอการโดนจับได้อยู่ เพราะว่ายิ่งโดนจับช้าก็ยิ่งดีอยู่แล้ว ในขณะที่ผู้เข้าวงการหน้าใหม่ ๆ หรือยังรู้เท่าไม่ถึงการคิดว่าไม่เสี่ยง แต่แท้จริงแล้ว โดน Google ซุ่มดูท่าทีอยู่นานหลายสัปดาห์ แล้วก็จัดการทีเดียวหลาย ๆ เว็บ พร้อม ๆ กันหลังจากมั่นใจว่าเว็บเหล่านั้นสายปั่นชัวร์

สิ่งที่ทำให้ Google ไม่ฟันผิดตัว ทั้ง ๆ ที่นักปั่นบางกลุ่มก็พยายามหลีกเลี่ยงอยู่บ้างแล้ว ก็คือ พฤติกรรมบางอย่างของนักปั่นเหล่านั้่นที่สามารถบ่งบอกได้ถึง ความน่าจะเป็นเจ้าของคนเดียวหรือกลุ่มเดียวกันสูงนั่นเอง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้นมีดังนี้ อ่านต่อ »

 

ห่างหายไปนานให้คนด่าเล่นอีกเช่นเคย เฮ้อออออ… เอาน่าถึงผมจะหายไปก็เกี่ยวกับการทำ search นี่แหละ เอาไว้มีประสบการณ์อะไรดี ๆ จะเอามาเล่าให้ฟังก็แล้วกันนะ .. มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เห็นว่า white board friday ของ seomoz ในหัวข้อ Outranked by A Spammer นั้นค่อนข้างน่าสนใจ เลยเอามาฝากกัน

Rand ได้ให้คำแนะนำไว้ 5 steps ด้วยกัน ซึ่งก็อาจจะไม่ถึงกับเป็นการกำจัดเว็บ spam ไปได้เลยซะทีเดียว แต่ก็ทำให้เรารู้ว่าจะต่อสู้กับเว็บเหล่านั้นยังไง ซึ่งจริง ๆ แล้วก็รวมถึงการสู้กับเว็บทั่ว ๆ ไปด้วย และยังได้มุมมองใหม่ ๆ เอามาให้หลาย ๆ ได้ทำความเข้าใจมากขึ้นด้วย ว่าแล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่า

 

1. แน่ใจหรือเปล่าว่าเว็บที่ขึ้นแซงเรานั้นได้พลังมาจากการสแปมลิ้งค์
เพราะว่าพอหลาย ๆ คนเห็นว่าเว็บที่ขึ้นนำนั้น มีพลัง backlinks มาจากเว็บสแปมมากมาย ก็จะคิดว่าเอาบ้างดีกว่า เพราะว่าผลมันเห็นกันอยู่ ซึ่งที่จริงแล้วมันอาจจะไม่ใช่แบบนั้นก็ได้ เพราะ (จากที่ Rand พูด) Matt Cutts บอกว่าแบ็คลิ้งค์ที่เราเห็นเยอะแยะนั้น จริง ๆ แล้วนับเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ที่เว็บดังกล่าว Rank ดีกว่านั้น เพราะมาจากลิ้งค์แบบอื่น (ที่ถูกนับ) ต่างหาก (นั่นหมายความว่า ลิ้งค์ที่ไม่มีคุณภาพจะถูก devalue หรือการลดคุณค่าลงนั่นเอง)

Matt was looking at some links using his special Google software where he is investigating a link graph right on his laptop, and someone from the audience had said, “Hey, Matt, I am getting outranked by this particular spammer.” He looked and said, “No, you know, we see a few thousands links to that site, but we’re actually only counting a few hundred of them, and they’re the ones that are making it rank there.” อ่านต่อ »

จริง ๆ แล้วได้ยินมาสักพักแล้วว่ากำลังจะปิดตัวลง แต่ก็ยังเห็นว่า Yahoo Site Explorer นั้นยังคงเปิดให้ใช้มาเรื่อย ๆ อยู่ดี แต่ตอนนี้มีประกาศออกมาชัดเจนแล้วว่าวันที่ 21st Nov 2011 หรือวันจันทร์ที่กำลังจะถึงนี้จะไม่เปิดให้บริการแล้ว เพราะ Yaqhoo Site Explorer ได้ถูกรวมเข้าไปใน Bing Webmaster Tools แล้ว

Source: Yahoo Site Explorer Closing Down จาก Search Engine Land และ Site Explorer Reminder[original] จาก Yahoo Search Blog

สิ่งที่ได้ประกาศไว้มีดังนี้

“With the completion of algorithmic transition to Bing, Yahoo! Search has merged Site Explorer into Bing Webmaster Tools. Webmasters should now be using the Bing Webmaster Tools to ensure that their websites continue to get high quality organic search traffic from Bing and Yahoo!. Site Explorer services will not be available from November 21, 2011.” อ่านต่อ »

ถึงแม้ว่าบทความจะถูกปล่อยออกมาในวันที่ 14 พศจิการยน 2011 ที่ 10 Recent Algorithm Changes โดย Matt Cutts แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Algorithm เพิ่งถูกเปลี่ยน ณ วันนั้น เพราะ Cutts บอกว่ามันเป็น 10 อย่างหลักที่ถูกปรับในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นเอง ในส่วนของเนื้อหานั้นผู้เขียนก็จะแปลแบบคร่าว ๆ ให้ได้ใจความสำคัญ และอาจจะเติมความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวลงไปด้วย เพื่อเป็นการแชร์มุมมองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งถูกและผิดนะคร้าบบบบบ

มาเริ่มดูสิ่งที่ถูกเปลี่ยนทั้ง 10 อย่างกันเลยดีกว่า

Cross-language information retrieval updates: For queries in languages where limited web content is available (Afrikaans, Malay, Slovak, Swahili, Hindi, Norwegian, Serbian, Catalan, Maltese, Macedonian, Albanian, Slovenian, Welsh, Icelandic), we will now translate relevant English web pages and display the translated titles directly below the English titles in the search results. This feature was available previously in Korean, but only at the bottom of the page. Clicking on the translated titles will take you to pages translated from English into the query language.

การแสดงผลการค้นหาแบบรองรับหลายภาษา – สำหรับ ๆ คำที่ใช้ค้นหาในภาษาต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาค่อนข้างจำกัด (Afrikaans, Malay, Slovak, Swahili, Hindi, Norwegian, Serbian, Catalan, Maltese, Macedonian, Albanian, Slovenian, Welsh, Icelandic) จะถูกแปล และแสดง Title ที่แปลแล้วในผลการ search ด้วย (ไว้ใต้ Title ภาษาอังกฤษ) หาก users คลิ๊กที่ Title ที่ถูกแปล Google จะส่งผลลัพธ์ที่ถูกแปลจากภาษาอังกฤษมาให้ (ขึ้นอยู่กับภาษาของ keyword ที่ใช้ค้นหา) อ่านต่อ »

 

คำว่า Cloaking นั้นคนที่เข้าวงการ SEO มาใหม่อาจจะงงว่ามันคืออะไร แต่ที่จริงแล้วบางคนที่เข้ามาในวงการนี้แล้ว ก็อาจจะไม่เคลียก็ได้ว่ามันคืออะไรกันแน่ เพราะบางคนยังคิดอยู่ว่า Cloaking ก็แค่เป็นการใช้ keyword สีเดียวกับพื้นหลัง เพื่อให้เพจนั้น ๆ มี keyword เยอะ ๆ โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้สึกรำคาญ (เพราะว่ามองไม่เห็นคำเหลานั้นนั่นเอง) …แต่แท้จริงแล้ว cloaking ไม่ใช่อะไรเพียงแค่นั้น cloaking นั้นรวมหมดทุกการกระทำ ที่สามารถทำให้ bot ที่เข้ามาเก็บข้อมูล เห็นสิ่งที่อยู่ในเพจต่างกับ user ซึ่งนั่นเป็นเรื่องเสี่ยงและขัดแย้งกับสิ่งที่เป็นคำแนะนำของ Google (Google Webmaster Guideline) อ่านต่อ »

อย่างที่เราหลาย ๆ คนรู้ว่านอกจาก Algorithm แล้ว Google ก็ยังมีคนคอยตรวจเว็บด้วย เพราะว่า machine ยังทำบางอย่างไม่ได้ และ Google Rater นั้นก็จะมีคู่มือสำหรับให้คะแนนเว็บไซต์ต่าง ๆ ไว้อ่านก่อน เพื่อที่จะได้ให้คะแนนได้อย่างมีมาตฐานในแบบของ Google และจากการที่มีตัวนี้หลุดออกมา และทาง SeoMoz ได้สรุปออกมา 16 ข้อ ใน 16 Insights into Google’s Rating Guidelines เมื่อคืนนี้(26/10/2011 เวลาเกือบ ๆ เที่ยงคืนของบ้านเราเห็นจะได้) ผมจึงเอาเวลามาเขียนบทความนี้ก่อน (ที่จริงว่าจะเขียนอย่างอื่น) เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์และเปิดมุมมองให้หลาย ๆ คนได้คิดกัน ผมแปลแบบคร่าว ๆ นะครับ เน้นเนื้อ ๆ ไม่เอาน้ำดีกว่าเพราะหลายข้อเหลือเกิน

* เอกสารที่หลุดออกมาไม่ค่อยได้พูดถึงการนับ Backlink, linking ของ block c, จำนวน domains ที่ link เข้ามาหาเรานะครับ อ่านต่อ »