เว็บ notzaa สำหรับ key "จำหน่าย antivirus ของแท้"

เว็บ notzaa

 

บอกไว้ก่อนว่าผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเนี่ย แค่อยากจะแชร์ความคิดเห็นกับเรื่องนี้เท่านั้น (ผมจะพยายามพาดพิงให้น้อยที่สุดนะครับ เพราะไม่ได้ต้องการมีปัญหาอะไรกับใคร)

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หาความรู้ด้าน seo อยู่ที่ thaiseoboard คุณคงจะทราบว่า ช่วงสองสามวันมานี้มีประเด็นให้ติดตามกันระหว่างคุณปรีดากับคุณน็อตซ่า จนถึงขั้นที่ว่าให้ทำ seo คำว่า “จำหน่าย antivirus ของแท้” มาแข่งกัน ซึ่งเป็น keyword ที่คุณปรีดานั้นติดอันดับต้น ๆ อยู่แล้ว หลายอันดับด้วยกัน

นั่นคือทั้งหมดที่ผมรู้ก่อนที่คุณน๊อตซ่าจะทำ seo กับ keyword คำเดียวกันนี้ พอเวลาผ่านไปไม่นานผมเปิด TSB ไปแล้วเจอหัวข้อ “ทำแค่ 10 นาทีผมก็อยู่อันดับหนึ่งแล้ว” (ตั้งโดยคุณน๊อตซ่า) ผมจึงเปิดเข้าไปดูว่าทำอะไรยังไง สิ่งแรกที่ทำให้ผมตกใจก็คือ คุณน๊อตซ่าใช้คำว่า “น๊อตซ่าา” เป็น Title แล้วยังได้อันดับหนึ่งอีกเหรอ!!!? ผมรีบเข้าไปดูทันทีเลยว่าใช้ Title ที่ไม่ตรงแล้ว ทำได้ยังไง ภายใน 10 นาที…

ทันทีที่เปิดเว็บคุณน๊อตซ่า ผมก็เข้าใจว่าอ๋อ เป็นเว็บบล็อกหน้าแรกนี่เอง (ตอนแรกนึกว่าสร้างหน้าขึ้นมาใหม่เลยเพื่อเอามาแข่งตัวนี้โดยเฉพาะ) หนำซ้ำยังเป็นหน้าแรกที่ยังให้บทความเกี่ยวกับคำว่า “จำหน่าย antivirus ของแท้” นี้ แสดงแบบเต็ม ๆ ไม่ได้ทำการตัดย่อไว้สำหรับอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมแต่อย่างใด …ไม่รู้ว่าปกติ คุณน๊อตซ่าให้บทความแรกแสดงเต็ม ๆ อยู่แล้วหรือเปล่า แต่หากว่าเป็นเฉพาะบทความนี้แล้วละก็ ถือเป็นกลยุทธที่เหมาะกับสถานการณ์มาก ๆ เลยทีเดียว … ด้วยเนื้อหาที่ดี (เต็ม ๆ กับเรื่องนี้) + พลังของเพจแรกที่มีอยู่แต่เดิม ก็ทำให้ผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่เอาชนะมาได้ อ่านต่อ »

 

อย่างที่เรา ๆ (คนทำ SEO ทั้งหลาย) รู้กันมาระยะนึงแล้วนะครับว่าแพนด้านั้น เป็น Algorithm ที่ทำให้วิธีการต่าง ๆ การการปรับแต่งเว็บไซต์ทำได้ยากมากขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วถ้าพูดให้ถูกก็คือ seo สายปั่นมีผลกระทบอย่างรุนแรงน่าจะถูกกว่า เพราะหากใครเดินบนเส้นทางสีขาวแล้วล่ะก็ แทบไม่มีผลกระทบด้านลบเลยก็ว่าได้ (มีแต่ด้านบวกด้วยซ้ำ บางทีคนที่เดินเส้นทางนี้แทบอยากจะกระโดดกอดแพนด้าเลยทีเดียว)

หลาย ๆ คนยังคงไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว แพนด้านั้นคืออะไร แล้วมันแจ้งเกิดขึ้นมาได้ยังไง เพราะฉะนั้นก็ขออธิบายคร่าว ๆ ในส่วนตรงนี้ซักหน่อย โดยเป็นคำอธิบายของผมเอง + อ้างอิงจาก Video ของ Rand Fishkin แล้วกัน เพราะดูแล้วไม่อธิบายยาก ๆ ให้คนไม่ชอบคิดลึก ๆ งงมากไปกว่าเดิม … เจ้าแพนด้านี้ที่จริงแล้ว มันเกิดมาในตอนแรกน่าจะประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ด้วยชื่อว่า content farmer update เอาไว้เล่นงานบุคคลที่พยายามทำ seo โดยการสร้างกองกำลัง content จำนวนมาก แต่เมื่อ algorithm นี้เริ่มได้ผลชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ผมถึงมาได้ยินคำว่า Panda ที่หลัง (กลาง ๆ เดือนมีนาคม) ซึ่งคำว่า panda นี้ ก็คือชื่อของพนักงาน Google ที่เป็นคนคิดค้น Algorithm นี้นั่นเอง อ่านต่อ »

การทดสอบความเร็วในการโหลดเว็บเพจ

Performance testing speed vs abandonment

 

ในปัจจุบันมีการพูดถึงความเร็วในการโหลดหน้าเว็บมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงยังมีคำถามตามมาด้วยว่ามันมีผลต่ออันดับของเว็บไซต์หรือไม่ จากข้อมูลที่ผมศึกษามาผมจำได้ว่า ไม่มีผลตรง ๆ ต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ หากแต่มีผลในทางอ้อม ยังไงก็ตามหากคุณเป็นเจ้าของเว็บที่โหลดเร็วอยู่แล้ว คงไม่มีผลกระทบอะไรมากนัก

ผลกระทบในทางอ้อมที่ผมหมายถึงนั้นก็คือ โอกาสของ Traffic ที่เราจะได้นั้นมีมากขึ้น เหมือนจะเคยได้ยินมาว่ามีการวิจัย (ผมไม่เคยอ่านนะ) บอกว่าเว็บเพจที่โหลดเร็วขึ้นนั้น ผู้ใช้จะทำการท่องเว็บของเราหลายเพจมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนั่นก็หมายถึง % การดีดกลับ (bound rate) จะน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งตรงนี้เองที่ไปเป็นส่วนช่วยให้เว็บเราดูดีขึ้นในสายตา Google เพราะมันบ่งบอกได้ถึงสิ่งที่มีคุณภาพมากขึ้น หากคุณสังเกตุดี ๆ ช่วงหลัง ๆ จะมีผู้คนมากมายในวงการนี้พูดถึง Panda ที่ต้องการเนื้อหาของเว็บไซต์ที่มากขึ้น รวมไปถึงมีรูปภาพหรือวีดีโอประกอบด้วย ซึ่งหากเรามองไปถึงคำว่า”เพื่ออะไร?” คำตอบก็คงจะเพื่อให้คนอยู่ในเพจของเรานานขึ้นนั่นเอง อ่านต่อ »

Ngokung on June 15th, 2011
SEO Driven Landing PAge

 

กลับมาสู่เรื่องเบสิค ๆ กันสักนิดนึง ปัจจัยหนึ่งของการทำ SEO ก็คือ Landing page (เพจแรก user เข้ามาที่เว็บเรา) เวลาที่เรา search หาข้อมูลด้วย keyword หนึ่ง ๆ เราก็ต้องการที่จะพบเจอกับหน้าเว็บที่ให้ข้อมูลตรงกับที่เราต้องการ ซึ่ง user คนอื่น ๆ นั้นก็เหมือนกับเรา ต้องการไปยังเพจที่สามารถตอบโจทย์ให้กับเค้าได้ เพียงแต่ว่าในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป บางครั้ง Google กลับดึงข้อมูลที่ไม่ได้มีคุณภาพมากนักจากเว็บเราไปให้กับ user ทั้ง ๆ ที่มันมีข้อมูลที่ตอบโจทย์ได้ดีกว่านั้น

คุณผู้อ่านบางคนอาจจะบอกว่า “นั่นมันเป็นปัญหาที่ Google ต้องแก้ไม่ใช่เรา เพราะ Google ต้องดึงข้อมูลที่ดีที่สุด มาแสดงผลสิ” ซึ่งนั่นก็ไม่ผิดอะไร Google เองก็พยายามทำแบบนั้นตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแต่คนทำ SEO ซึ่งมีความรู้มากกว่าคนมีเว็บไซต์ธรรมดา ๆ ทั่วไปนั้น ควรจะต้องรู้ว่า เราจะสามารถ Control ในส่วนของ Landing page นี้ได้ยังไง อ่านต่อ »

 

วันนี้มาลองดูหัวข้อ SEO ที่น่าสนใจอีกอย่างนึงกันดีกว่า ซึ่งหัวข้อนั้นก็คือการได้รับผลการค้นหาแบบย่อหน้า ซึ่งผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านหลาย ๆ คนคงจะเคยเห็นกันมาแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็คือ ผลลัพธ์จากเว็บไซต์เดียวกันที่มีความเกี่ยวข้องกัน ถูกจัดให้อยู่ด้วยกัน หากถามว่าแล้วมันมีดียังไงกันล่ะ คำตอบนั้นก็คือการมีค่า CTR ของเว็บเราจะสูงขึ้นหรือพูดอีกอย่างก็คือเว็บเราก็มีโอกาสถูก click มากขึ้นนั่นเอง (ก็ Google เค้าว่าเอาไว้แบบนั้นอ่ะนะ) อ่านต่อ »

 

สำหรับคนที่มีเว็บไซต์หลาย ๆ เว็บนั้น มักจะมีคำถามประมาณว่าจะ link ไปหาเว็บแต่ละเว็บของตัวเองเพื่อเพิ่ม PR ได้หรือเปล่า จะโดน Google ลงโทษมั้ย? ซึ่งแน่นอนครับว่าในความเป็นจริงแล้ว Google ย่อมต้องการให้ผลลัพธ์การค้นหาข้อมูลออกมาอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด ไม่ต้องการให้คนที่มีเว็บไซต์มากกว่า เอาส่วนนี้มาทำให้ผลการค้นหามีคุณภาพลดลง ด้วยเหตุนี้เองทำให้เวลาที่เราต้องการจะลิ้งค์ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เราสร้างขึ้นต้องพิจารณาดี ๆ ไม่งั้นอาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้ อ่านต่อ »

หุหุ หลังจากห่างหายไปจากเว็บบล็อกไปนานถึง 10 วันเต็ม -*- (ช่วงนี้วุ่น ๆ จริง ๆ นะคร้าบบบ) วันนี้ขอนำเสนอข้อมูลพื้นฐานที่ใคร ๆ อาจจะไม่รู้อย่าง Link Quality หรือ Link ที่มีคุณภาพนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง?

 

จาก Video ของ Rand Fishkin ด้วยหัวข้อเรื่อง Link Quality vs Link Quantity … ซึ่งที่จริงแล้ว Rand ไม่ได้พูดถึง link Quantity (จำนวนลิ้งค์) มากนัก แต่เนื้อหานั้นเน้นหนักไปทางที่ว่า คุณภาพของลิ้งค์นั้นสำคัญกว่าจำนวนเป็นไหน ๆ นั่นเอง ซึ่ง Rand ยังคงอธิบายถึง Factors หลัก ๆ ของลิ้งค์ที่มีคุณภาพให้เราได้เข้าใจกันด้วย … จากวิดีโอนี้ Factors หลักนั้นประกอบไปด้วย (คำอธิบายผมเพิ่มส่วนของผมเองลงไปบ้าง เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นนะคร้าบ) อ่านต่อ »

หากใครที่ศึกษา SEO ด้วยตนเองจากเนื้อหาภาษาอังกฤษแล้วละก็ บุคคลเหล่านั้นจะพบเจอคำว่า Trust กับ Authority อยู่บ่อยครั้ง ส่วนในภาษาไทยเองก็มีการพูดถึงบ้างเป็นครั้งคราว บทความนี้จะมาอธิบายว่ามันคืออะไร แล้วมี Factors อะไรบ้างที่เป็นส่วนประกอบของ Trust และ Authority นี้ สำหรับคำว่า Trust ในความหมายของ SEO นั้นหลาย ๆ คนคงจะรู้อยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่รู้นั้น Trust ก็คือความน่าเชื่อถือที่ Google มีต่อเว็บเพจและเว็บไซต์ ยิ่งมีความน่าเชื่อถือมาก งานแต่ละชิ้นที่ออกมา ก็ได้รับความไว้วางใจมาก  ส่วนในด้านของ Authority ในความหมายของ SEO ก็คือศูนย์กลางของข้อมูลในเรื่องใด ๆ ซึ่งจะช่วยบอกถึงความสำคัญและการเป็นที่นิยมในเรื่องนั้น ๆ หรือก็คือเว็บไซต์ที่มี link ภายนอกจำนวนมากยิงเข้ามาที่เว็บไซต์และมีจำนวนลิ้งค์ออกน้อย ๆ (ดูรูปประกอบด้านล่าง) การมีค่า Trust และ Authority สูง ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราติดอันดับได้ง่ายขึ้น

*hub คือเว็บที่มีจำนวนลิ้งค์ออกมาก แต่ลิ้งค์เข้าน้อย แต่ในบทความนี้เราจะไม่พูดถึงเรื่องนี้

hubs and authorities

Hubs and Authorities

อ่านต่อ »

flat deep site structure

flat deep site structure

 

ไม่ได้อัพบทความไปประมาณ 1 สัปดาห์ได้ เนื่องจากช่วงนี้มีอะไรต้องทำเยอะ แต่วันนี้ก็พยายามเร่งอัพให้ได้บทความนี้ ที่เป็นทั้งพื้นและเป็นมุมมองที่น่าสนใจอีกเรื่องนึง ซึ่งก็คือ Flat site Architecture หรือ โครงสรา้ง(หรือสถาปัตยกรรม)เว็บแนวราบ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในการออกแบบโครงสร้างภายในเว็บไซต์ และดูเหมือนว่าหลาย ๆ คนกำลังมองข้ามมันอยู่ด้วย

หลักการของ Flat site Architecture นี้ก็เป็นเรื่องง่าย ๆ นั่นก็คือการออกแบบโครงสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ user นั้น click น้อยครั้งที่สุด ไม่ว่าจะไปเพจใดใดก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ลองคิดดูว่าถ้าเราเข้าไปที่หน้าแรกของเว็บ แล้วต้องคลิ้กเลือกนู่นเลือกนี่ตั้งหลายครั้ง กว่าจะถึงรายละเอียดของสินค้าที่เราจะดูจริง ๆ ..แบบนี้ไม่ใช่ โครงสร้างแนวราบแต่เป็นโครงสร้างแนวลึก ซึ่งตรงนี้ต้องเข้าใจด้วยว่า ปกติแล้วเราจะเสีย % บางส่วนของ PR juice ไปฟรี ๆ ทุกครั้งที่มีการส่ง PR juice ผ่านลิ้งค์มา (เดี๋ยวเรื่องนี้ผมจะอัพเดทข้อมูลในส่วนเนื้อหาของ PR ให้อีกที) นั่นหมายความว่ายิ่งสร้างเป็นแนวลึกมากเท่าไร เรายิ่งเสีย PR juice ไปฟรี ๆ มากเท่านั้น อ่านต่อ »

open site explorer

หลาย ๆ คนอาจจะรู้จัก Yahoo Site Explorer[1] อยู่แล้วว่าเป็น Tool ที่ใช้สำหรับทำการวิเคราะห์ Backlink ของเว็บเราและเว็บของคนอื่น ๆ ได้ ซึ่งผมคงไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรมากกับตรงนั้น เพราะน่าจะมีเว็บหลาย ๆ เว็บอธิบายไว้แล้ว วันนี้ผมจึงขอยกเครื่องมือที่มีลักษณะเดียวกับเจ้า Yahoo Site Explorer นี้มาให้ได้ทดลองดูกัน ซึ่งเจ้าเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ลิ้งค์ตัวนี้มีชื่อว่า Open Site Explorer[2] ซึ่งเป็น SEO Tool จาก SeoMoz[3]

บอกก่อนนะครับว่า ส่วนตัวแล้วผมชอบใช้ OpenSiteExplorer มากกว่าของ Yahoo ซะอีก เนื่องจากว่าความสามารถของมันเจ๋งกว่าของ Yahoo นั่นเอง (ย้ำนะครับว่าส่วนตัว เดี๋ยวถ้าเกิดไปเจอ Yahoo Fan Club เข้าผมจะแย่ แฮ่ะๆ ยังไงก็ลองพิจารณากันเอง แล้วก็แล้วแต่ชอบนะครับ) ..ที่ผมว่าความสามารถของมันมากกว่า ก็ตรงที่มันสามารถบอกเราได้ว่า: อ่านต่อ »